Page 32 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 32

โดยทั่วไปการใช้ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ กรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ที่ดิน
                       บางประเภทของประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตลอดเวลา ช่วงปี พ.ศ. 2518
                                                         ่
                                                                                          ่
                       เริ่มการปฏิรูปที่ดินโดยส่วนใหญ่นําพื้นที่ปาเสื่อมโทรมมาจัดให้ราษฎร ทําให้ที่ดินปาไม้กว่า 30 ล้านไร่
                       เปลี่ยนมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ก็ไม่เกิดการกระจายการถือครองที่ดินจริงเพราะไม่นานที่ดินที่จัดสรร
                       ก็กลับไปอยู่กับนายทุน ผลการดําเนินงานปฏิรูปที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518  -  2547  ได้มอบหนังสือ
                       ให้เข้าทําประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01) ประเภทที่ดินของรัฐเป็นพื้นที่ 24.41 ล้านไร่
                                                                                                  ่
                              การศึกษาเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2523, 2529, 2541  และ 2544  ในขณะที่พื้นที่ปาไม้ลดลง
                       พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น รวมทั้งพื้นที่ชุมชนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4  เท่าตัวจาก พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม
                       เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2529 - 2541 พื้นที่นาได้ลดลงประมาณ 3.5 ล้านไร่ โดยถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็น

                       โรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย สนามกอล์ฟ รีสอร์ท หรือที่พักผ่อนหย่อนใจ ตั้งแต่ พ.ศ.  2529
                       เป็นต้นมา พื้นที่นาได้ลดลงประมาณ 3.5  ล้านไร่ ขณะเดียวกันพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าได้เพิ่มขึ้นประมาณ
                       1 ล้านไร่ แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พื้นที่นาได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 ล้านไร่ เนื่องจากหลังวิกฤตการณ์

                       ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับสู่ภาคเกษตรมากขึ้น
                              สําหรับพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2525  -  2542  ไม่มีการ
                       เปลี่ยนแปลงมากนัก ในปี พ.ศ. 2525  มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 123.59  ล้านไร่

                       และในปี พ.ศ. 2542  มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 131.34  ล้านไร่ พื้นที่ถือครองทางการเกษตร
                       มีแนวโน้มลดลงโดยตลอด แต่จํานวนครัวเรือนเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
                              การศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน ในระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2536 ยังพบว่า ที่ดินเพื่อการเกษตร

                       ในเขตปริมณฑลเปลี่ยนแปลงสภาพไปเฉลี่ย 18,000  ไร่ต่อปี ในเขตปริมณฑลที่มีการเปลี่ยนแปลง
                       การใช้ที่ดินเกษตรกรรมเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ มากพื้นที่หนึ่งคือจังหวัดปทุมธานี จากการสํารวจในปี พ.ศ. 2531
                       จังหวัดปทุมธานีมีโครงการบ้านจัดสรรจํานวน 46 โครงการ (โสภณ  ชมชาญ, 2538) ต่อมา ในเดือนมีนาคม

                       พ.ศ. 2537  จากการสํารวจในพื้นที่อําเภอคลองหลวง  ธัญบุรี และหนองเสือ พบว่า มีโครงการจัดสรรที่ดิน
                       บ้านจัดสรร รีสอร์ท  และสนามกอล์ฟรวม 146  โครงการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543  ได้มีการ
                       สํารวจโครงการบ้านจัดสรร  เหลืออยู่ประมาณ 30  โครงการ แต่พื้นที่ที่อยู่ในโครงการพัฒนาที่ดิน ต่าง ๆ

                       ที่หยุดหรือชะลอโครงการไว้ ซึ่งเดิมเป็นที่เกษตรกรรมได้ทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์เป็นจํานวนมาก
                       ที่ตั้งของโครงการดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรและอยู่ในเขตชลประทาน
                              อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ พบว่า  พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งมีจํานวน 32.1  ล้านไร่

                       36.45  ล้านไร่  และ 29.89  ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2523,  2529  และ 2541  ตามลําดับนั้น ส่วนหนึ่งเคยเป็นที่ดิน
                       ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมมาก่อน  ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่การเกษตรในแต่ละช่วง จะมีเนื้อที่เกษตรกรรม
                       มากกว่า 168 ล้าน ตามความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2529

                                                 ่
                              ในปี พ.ศ. 2535  กรมปาไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี  วันที่ 10  และ 17  มีนาคม พ.ศ. 2535  นั้น
                                         ่
                       ได้มีการจําแนกพื้นที่ปาไม้เป็นเขตอนุรักษ์ (โซน C)  จํานวน 88.23  ล้านไร่ เขตเศรษฐกิจ (โซน E)
                       จํานวน 51.88  ล้านไร่  และเขตที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม (โซน A)  จํานวน 7.22  ล้านไร่ ต่อมา
                                           ่
                                                            ่
                       ในปี  พ.ศ. 2536  กรมปาไม้ได้ส่งมอบพื้นที่ปาสงวนแห่งชาติที่มีประชาชนเข้าทํากินรวม 44  ล้านไร่

                                                                                                       3‐3
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37