Page 31 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 31

ั
                       เพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ ทั้งการใช้ที่ดินในปจจุบัน หรืออนาคต
                                                 ่
                       เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมปาไม้โดยมนุษย์จะทําการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                       ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินที่มีอยู่นั้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เกิดผลตอบแทน

                       มากที่สุด อย่างไรก็ดีที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัด มนุษย์จึงต้องเรียนรู้วิธีการอนุรักษ์
                       เพื่อให้ทรัพยากรที่ดินมีใช้ได้ยาวนานที่สุด การใช้ที่ดินในระยะแรกนั้นมนุษย์ไม่ได้คํานึงถึงข้อจํากัดใด ๆ
                       เกี่ยวกับดินและที่ดินจึงส่งผลให้เกิดการทําลายดินและที่ดินอย่างรุนแรงและเกิดผลกระทบจากการ

                       ใช้ที่ดินซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของเอิบ (2525  อ้างจาก สิรีภัทร์ ขาวมีชื่อ, 2546)  ที่อธิบายว่า
                       เป็นความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงธรรมชาติของดินและที่ดินแต่ละประเภทก่อนที่จะเริ่มใช้ประโยชน์
                       เพราะถ้าใช้ผิดไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงให้ดีเหมือนเดิมยากและจะต้องลงทุนสูงมาก

                              เราสามารถจําแนกที่ดินออกเป็นประเภท ต่าง ๆ ได้มากมายโดยมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ
                       เรื่องนี้เป็นจํานวนมากแต่ไม่มีระบบการจัดการที่แน่นอนซึ่งคล้าย ๆ กับธรรมชาติที่ไม่มีความแน่นอนเช่นกัน
                       และสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอซึ่งระบบการจัดประเภทของการใช้ที่ดินสามารถอธิบายและบ่งบอก

                       ถึงความสําเร็จของการใช้พื้นที่ในบริเวณ ต่าง ๆ ที่ผ่านมา เช่น อเมริกา เปอโตริโก และหลาย ๆ บริเวณ
                       ในทวีปยุโรป ขอบข่ายของโครงร่างสามารถอธิบายโดยใช้ลักษณะทางธรณีวิทยาซึ่งจะแสดงการ
                       แบ่งชั้นของพื้นดินในแต่ละบริเวณนั้น ๆ ตามข้อมูลที่ได้สะสมไว้เป็นเวลานานจะช่วยให้แผนภาพ

                       ประกอบข้อมูลดูชัดเจนและละเอียดมากยิ่งขึ้นอกจากนี้นักวิจัยจะต้องทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
                       ประกอบด้วยเพื่อที่จะทําให้การจัดประเภทการใช้ที่ดินทําได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยการใช้ที่ดินของประเทศไทย
                       แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

                              1. เมืองและสิ่งก่อสร้าง (urban and built - up land) ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ย่านการค้า ย่านอุตสาหกรรม
                       คมนาคม และสถานที่ราชการอื่น ๆ
                              2. พื้นที่เกษตรกรรม (agricultural land) ได้แก่ พื้นที่ปลูกพืชล้มลุกและพืชถาวร เช่น สวนผัก

                       สวนผลไม้ พืชไร่ นาข้าว ทุ่งปศุสัตว์ และไร่หมุนเวียน
                                                                                                     ่
                                                              ่
                                  ่
                              3. ปาไม้ (forest land)  ได้แก่ พื้นที่ปาไม้ทั่วไปและจัดแยกย่อยไปตามประเภทของปา เช่น
                                ่
                        ่
                                              ่
                                                       ่
                                                                                                         ่
                                                                ่
                                                                        ่
                       ปาเต็งรัง ปาเบญจพรรณ ปาดิบแล้ง ปาดิบเขา ปาดิบชื้น ปาชายเลน ทุ่งหญ้าธรรมชาติ และสวนปา
                       เป็นต้น
                              4. แหล่งนํ้า (water sources) ได้แก่ พื้นที่แม่นํ้าลําธาร หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ และแหล่งกักเก็บนํ้า
                       ที่สร้างขึ้น
                              5. พื้นที่ว่างเปล่า (abandon land) ได้แก่ พื้นที่ปราศจากสิ่งปกคลุมรวมถึงไร่ร้าง (สถิตย์, 2525)
                              ความต้องการใช้ที่ดินขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเพื่อตอบสนองประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้จากการ
                                ั
                       ที่มีการใช้ปจจัยการผลิตทางการเกษตรในระดับสูงโดยเฉพาะการใช้พันธุ์พืชใหม่ ๆ การปรับปรุงระบบ
                       การปลูกพืชให้เป็นแบบร่วมหลายชนิดหรือแบบหมุนเวียนมีผลทําให้ดินเสื่อมโทรมนอกจากนี้ยังมีการ

                       ใช้ที่ดินผิดประเภทไม่เหมาะสมแต่การบังคับให้เจ้าของที่ดินหรือราษฎรใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับ
                       สมรรถนะที่ดินทําได้ยากอย่างไรก็ตามที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดจึงควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                       ไปจนถึงคนในรุ่นต่อ ๆ ไป (สมเจตน์  จันทวัฒน์, 2524)

                                                                                                       3‐2
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36