Page 22 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 22
2.3) สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ข้อมูลข่าวสารของราชการหมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือ
ควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานของรัฐหรือข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 58 กําหนดไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในกรอบของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่
ั
กฎหมายบัญญัติ ซึ่งปจจุบันมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป ได้แก่ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เช่น
1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐนั้น
2) สรุปอํานาจหน้าที่ที่สําคัญและวิธีการดําเนินงาน
3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคําแนะนําในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผน นโยบายหรือการตีความ
ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้น โดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่คณะกรรมการกําหนด ได้แก่ แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่กําลังดําเนินการ คู่มือ
หรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน ฯลฯ
2.4) สิทธิในเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
สิทธิเสรีภาพของประชาชนกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญในหลายมาตรา ที่สําคัญได้แก่ มาตรา 66
“บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีต
ั
ประเพณีภูมิปญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการ
จัดการ การบํารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ
ยั่งยืน”
มาตรา 67 “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์บํารุงรักษาและการ
ได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครอง ส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดํารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะ
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครอง
การดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ จะกระทํามิได้เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อ
ั
คุณภาพสิ่งแวดล้อมและจัดให้มีกระบวนการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
รวมทั้งได้ให้องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทน
2‐8