Page 21 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 21
หากไม่มีการตกลงอย่างยินยอมพร้อมใจโดยกลุ่มชนที่เกี่ยวข้อง การชดเชยควรทําในรูปของที่ดิน
อาณาเขต และทรัพยากร ที่มีคุณภาพ ขนาด และสถานภาพทางกฎหมายที่เท่ากัน หรือเป็นตัวเงิน
หรือเป็นการชดเชยในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม
้
มาตรา 29. ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการอนุรักษ์และปกปองสิ่งแวดล้อมและความสามารถ
ทางการผลิตของที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรรัฐควรจัดตั้งโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ชนเผ่าพื้นเมือง
้
ในการอนุรักษ์และปกปองสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
รัฐควรใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีวัตถุอันตรายถูกเก็บไว้หรือนําไปทิ้งไว้
ในที่ดินหรืออาณาเขตของชนเผ่าพื้นเมืองโดยมิได้ยินยอมอย่างเต็มใจ หรือมิได้ยินยอมให้กระทําการ
ดังกล่าวก่อนล่วงหน้า
รัฐควรใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดําเนินการโครงการต่าง ๆ ที่จะฟื้นฟู รักษา
และติดตามผลทางด้านสุขภาพของชนเผ่าพื้นเมืองผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากวัตถุอันตรายให้เป็นไป
ตามที่กําหนด โดยโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นและนําไปปฏิบัติโดยชนเผ่าพื้นเมือง
มาตรา 32. ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการตัดสินใจและพัฒนาลาดับความสําคัญและยุทธศาสตร์
สําหรับการพัฒนาหรือการใช้ที่ดิน เขตแดนและทรัพยากรอื่น ๆ ของตน
รัฐต้องปรึกษาและร่วมมือโดยสุจริตใจกับชนเผ่าพื้นเมืองที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านสถาบันที่เป็นตัวแทน
ของเขาในการขอรับการยินยอมที่มีการบอกแจ้ง และเป็นอิสระ ก่อนที่จะมีการอนุมัติโครงการใด ๆ ที่มี
ผลกระทบต่อที่ดิน เขตแดนและทรัพยากรอื่น ๆ ของพวกเขา โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
การใช้ประโยชน์หรือการใช้ประโยชน์แร่ธาตุ นํ้าหรือทรัพยากรอื่น ๆ
รัฐต้องจัดหากลไกที่มีประสิทธิผลสาหรับการชดเชยที่ดีและยุติธรรมสําหรับกิจกรรมดังกล่าว
และจัดหามาตรการที่เหมาะสมในการบรรเทาผลกระทบในทางลบของสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมหรือจิตวิญญาณ
2) สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิของบุคคลตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีประเด็นสําคัญสรุปได้ดังนี้
2.1) สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
มาตรา 32 - 35 กล่าวถึงการห้ามทรมาน ทารุณกรรม/เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้ง
การจับและคุมขังบุคคล ต้องมีหมายศาล และการค้นตัวบุคคล หรือกระทําใด มี กฎหมายบัญญัติ สิทธิ
เกี่ยวกับเคหสถาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว และการเลือกถิ่นที่อยู่
2.2) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
มีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เช่น มีทนายความ และ การปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหามีสิทธิ
โต้แย้ง สิทธิคัดค้านผู้พิพากษา /พิพากษาครบองค์คณะ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลย และพยานในคดีอาญา
มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง รวมทั้ง เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับความคุ้มครอง สําหรับคดีแพ่ง
มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากรัฐ (มาตรา 40)
2‐7