Page 27 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 27
โดยทีมงานวิจัยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่เป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย การคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน โดยจัดเวทีหลัก ๆ จํานวน 4 ครั้ง อย่างไรก็ดีจะมีการประชุมปรึกษาหารือวงเล็ก ๆ
แบบไม่เป็นทางการอีกหลาย ๆ ครั้งก่อนและหลังการประชุมใหญ่ ๆ แต่ละครั้ง
จัดเวทีรายงานความก้าวหน้า จะจัดเวทีสัมมนาเพื่อนําเสนอและสรุปความก้าวหน้าของ
โครงการเป็นระยะ ๆ จํานวน 1 ครั้ง
ั
จัดเวทีนําเสนอรายงานสมบูรณ์ จะจัดเวทีวิชาการเพื่อรับฟงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
จากนักวิชาการ นักปฏิบัติการและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน จํานวน 1 ครั้ง
ก่อนสิ้นสุดโครงการ
การจัดเวทีประชุมแต่ละครั้ง จะเตรียมเอกสารซึ่งประกอบด้วยข้อมูลและประเด็นต่าง ๆ ที่ศึกษา
อย่างละเอียด ให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าร่วมประชุม
2.7 แผนกิจกรรม
โครงการวิจัยฯ ได้กําหนดแผนยุทธศาสตร์ในการทําวิจัยไว้ 3 ระยะ
ระยะแรก ใช้เวลา 3 เดือน จะเน้นการเตรียมข้อมูลดังนี้
- การนํารายชื่อเอกสารและกรณีศึกษามาวิเคราะห์ความสําคัญและความเกี่ยวข้องเบื้องต้น
เมื่อได้รายชื่อเบื้องต้น (short list) แล้ว จึงพิจารณากําหนดเกณฑ์เพื่อการคัดเลือกเอกสารและ
กรณีศึกษาที่ต้องการ แล้วจึงอ่านเพื่อกลั่นกรองคัดเลือกเอกสารที่ต้องการ ซึ่งคาดว่าจะใช้กรณีศึกษา
ทั้งสิ้นราว 70 - 80 กรณี พร้อมทั้งสืบค้นรวบรวมเอกสารที่เลือกสรรแล้วให้มาจัดรวมกันเป็นหมวดหมู่
เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าอ้างอิง วิเคราะห์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อดําเนินการ 2 เรื่อง
สําคัญคือ
- การทบทวนวรรณกรรม จะศึกษาทบทวนเอกสารเพื่อการเรียบเรียงงานผลงานวิจัยและ
ั
ประเด็นปญหาและข้อเสนอต่าง ๆ ที่ค้นพบจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ระยะที่สอง ใช้เวลา 6 เดือน จะเน้นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
่
- การศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากเอกสารและข้อมูลกรณีศึกษาที่ดินและปาไม้ ที่คัดเลือกไว้
่
ในพื้นที่ที่จําแนกไว้เป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ที่ปาไม้ ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์ ที่ ส.ป.ก. และ
ที่ดินเอกชน
ข้อมูลเอกสารที่ต้องการ เช่น 1) รายงานการตรวจสอบของ ก.ส.ม. 2) กฎหมายเฉพาะระดับ
พ.ร.บ., พ.ร.ฎ., พ.ร.ก. 3) กฎกระทรวง ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ คําสั่ง และ 4) มติ ค.ร.ม. คําสั่งนายกรัฐมนตรี
มติคณะกรรมการ มติที่ประชุม
รายละเอียดเกี่ยวกับคําแถลงนโยบาย หรือเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจตนารมณ์
ของนโยบายหรือกฎหมาย รวมทั้งข้อมูลที่สนับสนุนการกําหนดนโยบายและกฎหมายนั้น ๆ จะเป็น
สาระสําคัญประกอบการวิเคราะห์วิจัยการละเมิดสิทธิ
2‐13