Page 19 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 19

ด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปฏิญญาสากลของสหประชาชาติที่สําคัญในการ
                       ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีตจนถึง
                           ั
                       ยุคปจจุบัน  ทั้งการสูญเสียที่ดิน เขตแดนตามประเพณี  วัฒนธรรมและการธํารงความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง
                                                    ่
                       โดยผ่านกลไกและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ฝายผู้มีอํานาจมากกว่าเป็นผู้สร้างขึ้นมา
                              1.1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491
                              ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสําคัญ 30 ประการ

                       โดยมีหลักการสําคัญที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิทธิของประชาชนด้านฐานทรัพยากรและความเป็นชุมชน
                       อยู่หลายประการ เช่น
                              ประการที่ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการ

                       ประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
                              ประการที่ 3 บุคคลมีสิทธิในการดําเนินชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
                              ประการที่ 7  ทุก ๆ คน ต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

                       เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ทุกคนชอบที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้า
                       จากการเลือกปฏิบัติใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการ
                       เลือกปฏิบัติเช่นนั้น

                              1.2) ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง
                              ตามนิยามสหประชาชาติ ชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous  People) หมายถึง “ชุมชน ประชาชน

                       และประชาชาติที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง คือผู้ที่โดยความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์... พิจารณาตนเองว่า
                       มีความแตกต่างไปจากภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม ที่ขณะนี้อยู่อาศัยในเขตแดนเหล่านั้น... พวกเขามิได้เป็น
                       กลุ่มครอบงําในสังคม และมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ พัฒนาและสืบทอดเขตแดนของบรรพบุรุษและ

                       อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนสู่คนรุ่นอนาคต ในฐานะที่เป็นรากฐานของการคงอยู่ในสถานะของประชาชน
                                                                                            1
                       อันสืบเนื่องจากแบบแผนทางวัฒนธรรม สถาบันทางสังคม และระบบนิติธรรมของตน”
                              แต่ชนเผ่าพื้นเมืองในหลายที่ทั่วโลก กลับตกเป็นผู้ถูกกระทําและถูกเลือกปฏิบัติในหลายลักษณะ

                       จากทั้งกระบวนการสร้างรัฐชาติ ที่มีกระบวนการกลืนกลายความหลากหลายของชนเผ่าให้เป็นหนึ่งเดียว
                       ในลักษณะรัฐชาติ ทําให้ชนเผ่าพื้นเมืองถูกปิดกั้น ครอบงํา หรือไม่ก็ถูกกันออกจากกระบวนการพัฒนา
                                                                   ั
                       และตกอยู่ในสภาพ “คนชายขอบ”  ของสังคม เกิดปญหาถูกพรากจากที่ดิน/ถิ่นที่อยู่ ที่ดินถูกแย่งชิง
                       ถูกกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของรัฐ สูญเสียอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเข้าสู่
                       วังวนของอาชญากรรม
                              ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. 2550 ประกอบไปด้วยอารัมภบท

                       24 ย่อหน้าและเนื้อหาหลัก 46 มาตรา เนื้อหาที่สําคัญ คือ สิทธิในการนิยามตนเองในฐานะเป็นชนเผ่าพื้นเมือง
                       สิทธิในการกําหนดอนาคตตนเอง  สิทธิในที่ดิน  เขตแดนและทรัพยากรธรรมชาติ  สิทธิในการให้การยินยอม
                       ที่ได้รับการบอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระในกิจกรรมการพัฒนาในที่ดินและเขตแดนของเขา และสิทธิ

                       ที่มีอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ  ปฏิญญาฯ ยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะคือมีการพูดถึงสิทธิองค์รวม

                              1
                              ชูพินิจ เกษมณี อ้างแล้ว
                                                                                                       2‐5
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24