Page 18 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 18
2.4 ขอบเขตงานวิจัย
2.4.1 ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1. เนื่องจากเป็นการวิจัยระยะสั้นมีระยะเวลาศึกษาเพียงหนึ่งปี จึงได้กําหนดขอบเขต
ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ต้องการศึกษาได้จริงจากเอกสารเรื่องร้องเรียน รายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิและ
่
นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและปาไม้ ในพื้นที่ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ที่ราชพัสดุ ที่ ส.ป.ก. ที่ดินเอกชน
่
ที่สาธารณประโยชน์ และที่ปาไม้ โดยไม่ต้องลงไปสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อีก
2. วิเคราะห์สังเคราะห์ประเด็นทางนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิใน
่
่
ที่ดินและปา ที่ประกอบด้วยพื้นที่ ได้แก่ ที่ราชพัสดุ ที่ ส.ป.ก. ที่ดินเอกชน ที่สาธารณประโยชน์ และที่ปาไม้
โดยพื้นที่แต่ละประเภทนี้จะอธิบายครอบคลุมถึงโครงการของรัฐที่เกิดขึ้นในที่ดินแต่ละประเภทนั้น
รวมอยู่ด้วย
3. เสนอความคิดเห็น
- การปรับปรุงแก้ไข นโยบายและกฎหมาย ที่จะนําไปสู่การคุ้มครองสิทธิของ
่
ประชาชนในเขตพื้นที่ที่ราชพัสดุ เขตปฏิรูปที่ดิน (ที่ ส.ป.ก.) ที่ดินเอกชน ที่สาธารณประโยชน์ และที่ปาไม้
่
- การปฏิรูประเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและปา
4. จัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล โดยอนุกรรมการฯ ร่วมกับนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมกัน
วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
5. จัดเวทีนําเสนอความก้าวหน้า โดยเชิญนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาช่วยแสดงความคิดเห็น
2.4.2 กรอบคิดในการวิเคราะห์การละเมิดสิทธิ
ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางปฏิบัติแล้วไม่ใช่ง่ายเลยที่จะตัดสินว่ามีการ
ละเมิดสิทธิหรือไม่ ในสังคมที่มีความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมลํ้าสูง ผู้มีอํานาจทั้งหลายมักจะอ้าง
หรืออาศัยนโยบายของรัฐและช่องทางของกฎหมายสร้างความชอบธรรมในการแย่งชิงที่ดินจากราษฎร
ที่ยากจนซึ่งครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินอยู่เดิมโดยปราศจากหลักฐานที่กฎหมายรับรองหรือ
ั
มีหลักฐานที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นปจจุบัน เช่น ภ.บ.ท. 5, ส.ค. 1, น.ส. 3 ให้ออกไปจากพื้นที่โดยไม่มีทาง
หรือโอกาสในการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ทําให้การตรวจสอบการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนในบริบทของสังคมไทยกระทําได้ยาก อย่างไรก็ดีในงานวิจัยนี้ นอกจากจะอาศัยกรอบที่เป็น
ระเบียบกฎหมายของรัฐไทยแล้วยังใช้กรอบสิทธิซึ่งเป็นกฎกติกาสากลที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก
ยอมรับ ที่ทําให้ความเชื่อและแนวคิดความเท่าเทียมกันทางสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการ
คุ้มครองโดยหลักการและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรวมทั้งกฎหมายในระดับประเทศ
มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ด้วย
1) กฎกติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในที่นี้จะกล่าวถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 ซึ่งแม้จะไม่ใช่สนธิสัญญา
ระหว่างประเทศแต่ก็เป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สําคัญที่สุดซึ่งประเทศต่าง ๆ
จําต้องเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้ตราไว้ในปฏิญญาฉบับนี้ และปฏิญญาสหประชาชาติว่า
2‐4