Page 24 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 24

“สิทธิชุมชน” ได้รับการยอมรับให้เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ เช่น กติกา
                       ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
                       เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 169 คําประกาศริโอว่าด้วย

                       สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Agenda  21) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และปฏิญญาสากล
                       ของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง ค.ศ. 2007 นอกจากนี้ ยังมีการยอมรับในคําพิพากษา
                       ของศาลทั้งที่เป็นการพิจารณาคดีระหว่างประเทศและคดีภายในประเทศของหลายประเทศ เช่น

                       ประเทศอเมริกา ประเทศแคนาดา หรือประเทศออสเตรเลีย โดยยอมรับว่า สิทธิของชนพื้นเมืองหรือ
                       สิทธิชุมชนเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อน เป็นสิทธิตามธรรมชาติดั้งเดิมตามหลักกฎหมายธรรมชาติ
                       (Natural Law) และรัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิของชุมชนดังกล่าว และเนื่องจากสิทธิชุมชนถูกพัฒนา

                       มาจากกระบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples) ในโลกตะวันตก
                       ซึ่งกระบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนก็เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูความคิดของสํานักกฎหมายธรรมชาติ
                       เพราะการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในด้านความคิดจะต้องต่อสู้กับความคิดของสํานักกฎหมายบ้านเมือง

                       (Legal Positivism) ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สิทธิชุมชนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไร้ที่มาทางทฤษฎี เพราะ
                       ทฤษฎีกฎหมายอันเป็นพื้นฐานแนวคิดของสิทธิชุมชนก็คือ ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ ที่มองว่า
                       กฎหมายธรรมชาติคือกฎหมายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเอง มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น เป็นกฎหมายที่

                       อยู่เหนือรัฐ และใช้ได้โดยไม่จํากัดเวลาและสถานที่ เป็นนิรันดร หมายความว่าเมื่อเป็นจริงในสมัยหนึ่ง
                       อีกสมัยหนึ่งก็ต้องเป็นจริงด้วย หากเป็นจริงในเวลาหนึ่งแต่ไม่เป็นจริงในเวลาหนึ่งก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์
                       ธรรมชาติ ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาตินี้ได้ถูกพัฒนาเป็นทฤษฎีสิทธิธรรมชาติ โดย จอห์น ล็อค (John  Lock)
                                    ั
                                 2
                       ซึ่งยืนยันว่า  ปจเจกชนทุกคนต่างล้วนมีสิทธิ และอํานาจที่มีมาเองโดยธรรมชาติ อันหมายถึง สิทธิ
                       ธรรมชาติในชีวิต อิสรภาพ และทรัพย์สิน อันเป็นสิทธิที่ไม่อาจถูกยกเลิกหรือขัดขวางได้จากรัฐ โดยสิทธิ
                       ธรรมชาตินี้สืบที่มาจากกฎหมายธรรมชาติ และโดยที่สิทธิดังกล่าวเป็นของมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น สิทธิ

                       ธรรมชาติจึงมีความหมายตรงกับสิทธิมนุษยชนด้วยในตัว
                              เนื้อหาของแนวคิดสิทธิชุมชนในระดับสากล ปรากฏเด่นชัดในเรื่องของสิทธิชนพื้นเมือง
                       (Indigenous Peoples)  หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม (Indigenous  Community) ในฐานะผู้ทรงสิทธิ

                       โดยได้มีการให้ความหมายว่าคือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งใดแห่งหนึ่งมาก่อนอย่างต่อเนื่อง
                       ยาวนาน โดยอาศัยช่วงเวลาก่อนการก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ (Modern State) เป็นเกณฑ์ในการกําหนดการ
                       อยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานของชุมชน และยังรวมถึงก่อนที่จะมีการรุกรานจากประเทศอาณานิคมเข้าไปยัง

                       ชุมชน ในขณะที่เนื้อหาของสิทธิชุมชนมี 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก สิทธิในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟู
                                        ั
                       จารีตประเพณี ภูมิปญญาท้องถิ่น ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงสิทธิกําหนด
                                                 ้
                       แนวทางในการอนุรักษ์และปกปองมิให้ถูกเปลี่ยนแปลงทําลายอีกด้วย และประการที่สอง สิทธิในการ
                       จัดการและพัฒนาฐานทรัพยากรโดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินที่ชุมชนใช้ประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขความ
                       ยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสิทธิในการได้รับการคุ้มครองจากรัฐในการเข้าถึงทรัพยากร
                       ดังกล่าว การจํากัดสิทธินี้ลงโดยกฎหมายต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมเท่านั้นและต้องมีการ


                              2
                              จรัญ โฆษณานันท์, อ้างแล้ว
                                                                                                      2‐10
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29