Page 25 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 25

จ่ายค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมอีกด้วย และรัฐยังต้องปรับปรุงกฎหมายและดําเนินการให้การรองรับ
                       สิทธิของชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                              ส่วนประเทศไทยได้มีการรับรองสิทธิชุมชนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหาของสิทธิชุมชนในระดับสากล พบว่า ในด้านเนื้อหามีความสอดคล้องกัน
                       กล่าวคือ มีการรับรองทั้งสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิทธิในการอนุรักษ์หรือ
                                           ั
                       ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นในกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน
                       มาตรา 66 และ 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
                              เนื่องจากสิทธิชุมชนเป็นการเรียกร้องสิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
                       ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน สิทธิชุมชนจึงมีลักษณะเป็นสิทธิธรรมชาติที่ไม่อาจถูกยกเลิกหรือขัดขวางได้

                       จากรัฐเช่นกัน เพราะการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนนั้นก็เป็นไปเพื่อดํารงรักษาชีวิต
                       และร่างกายอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ หากรัฐยกเลิกหรือขัดขวางการใช้สิทธิดังกล่าว
                       ก็เท่ากับรัฐขัดขวางการดํารงชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งซึ่งเป็นประชากรของรัฐที่รัฐมีหน้าที่ต้องดูแล

                       ประชากรของรัฐทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
                              สิทธิชุมชนจึงเป็นการกําหนดหน้าที่ของรัฐที่ต้องให้การรับรองและคุ้มครองในกฎหมายของรัฐ
                       ให้เท่าเทียมกับสิทธิด้านอื่น ๆ ด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่า สิทธิชุมชนจะต้องมีสถานะทางกฎหมายที่เท่าเทียม

                       กับสิทธิและเสรีภาพด้านอื่น ๆ ที่รัฐให้การรับรองอยู่แล้ว โดยมิได้มีสถานะที่เหนือกว่าสิทธิและเสรีภาพ
                       ในด้านอื่น ๆ หรือมีสถานะอํานาจเหนือรัฐ ดังนั้น ในการตรากฎหมาย การใช้กฎหมาย และการตีความ
                       กฎหมายของรัฐนั้น จึงควรเป็นไปในลักษณะการยอมรับว่าสิทธิชุมชนก็มีสถานะที่เท่าเทียมกับสิทธิ

                       และเสรีภาพด้านอื่น ๆ ภายในรัฐด้วยเช่นกัน
                              1) สิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
                              รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กําหนดสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ

                       ของชุมชนเอาไว้ 3 ประการ ได้แก่ สิทธิในการจัดการ สิทธิในการบํารุงรักษา และสิทธิในการใช้ประโยชน์
                       ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 3 ประการนี้ไม่ได้เป็นสิทธิเด็ดขาด

                       โดยสมบูรณ์ของชุมชน เพราะรัฐธรรมนูญได้กําหนดให้สิทธิเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้ “การมีส่วนร่วม” ด้วย
                              ดังนั้น สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
                       ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน จึงหมายถึง สิทธิในการ
                                                                                                     ้
                       มีส่วนร่วมได้เสียร่วมกับผู้อื่นในการดําเนินการเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม การระวัง ดูแล และปองกัน
                       และการใช้ให้ได้ผลตามที่ต้องการซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทาง
                       ชีวภาพที่มีอยู่ในบริเวณชุมชนอย่างมีดุลยภาพที่ยาวนาน

                              ในการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน หน้าที่ของรัฐจะต้องพึงเคารพ หมายถึง กฎหมาย
                       นโยบาย และโครงการของรัฐ รวมถึงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องไม่นําไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน
                                                                                                       ้
                       ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือไม่ดําเนินนโยบายที่จะส่งเสริมให้บริการขั้นพื้นฐานของรัฐ จะต้องปกปอง
                                                                            ้
                       ซึ่งหมายถึง ต้องมีกฎหมาย นโยบายหรือมาตรการที่จะดูแลหรือปองกันไม่ให้กลุ่มหรือบุคคลใดทําการ




                                                                                                      2‐11
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30