Page 26 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 26

ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น และเติมเต็ม หมายถึงรัฐจะต้องออกกฎหมายหรือดําเนินนโยบาย
                       เพื่อให้สิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงได้รับได้เกิดขึ้นจริง (แอมเนสตี้, 2548)
                              กล่าวโดยสรุป กรอบในการวิเคราะห์ประเด็นเรื่องที่ดินนั้น ไม่อาจจะพิจารณาเฉพาะสิทธิในที่ดิน

                       หรือประเด็นการละเมิดสิทธิในที่ดินเท่านั้น หากแต่จําเป็นต้องพิจารณาเชื่อมโยงไปถึงเรื่องสิทธิ
                       ขั้นพื้นฐานในระดับต่าง ๆ ที่มีสาระในการเข้าถึงสิทธิในลักษณะและเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งสิทธิมนุษยชน
                       สิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิของความเป็นชนเผ่า หรือชนพื้นเมือง สิทธิในการจัดการตนเอง สิทธิในการ

                       จัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสิทธิของชุมชน โดยพิจารณาถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นและบทบาท
                       หน้าที่ที่รัฐพึงมีพึงปฏิบัติต่อราษฎร

                       2.5 หน่วยงานและผู้รับผิดชอบโครงการ

                              สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล     ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล

                       จ. นครปฐม 73170 โดยมี ดร.เพิ่มศักดิ์  มกราภิรมย์ อาจารย์ประจําของสถาบันฯ ทําหน้าที่หัวหน้าโครงการ

                       2.6 วิธีการศึกษาวิจัย

                              วิธีการศึกษาวิจัย ใช้รูปแบบที่หลากหลายดังนี้

                              การวิจัยเอกสาร ทั้งเอกสารรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เอกสารของ
                                                                 ้
                       หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และการจัดประชุมกลุ่มเปาหมายเฉพาะ (focused  group)  จากบุคลากร
                       ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ตลอดจนนักปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                            ่
                       เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์ประเด็นทางนโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิด้านที่ดินและปาของประชาชน
                       การวิจัยเอกสาร จะทบทวนแนวคิดหลักการที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการวางกรอบการละเมิดสิทธิ เช่น
                       แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน แนวคิดธรรมาภิบาล แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนทบทวน

                       งานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งรวบรวมรายชื่อเบื้องต้นไว้บ้างแล้ว (จาก ส.ก.ว., พ.อ.ช., ส.ส.ส. และ
                                                                                                         ่
                       สถาบันการศึกษาต่าง ๆ) ให้ครอบคลุมประเด็นที่ดินประเภทหลัก รวมทั้งการละเมิดสิทธิที่ดินและปา
                       ในต่างประเทศเท่าที่จะค้นหาเอกสารได้  ตลอดจนข้อมูลนโยบาย ระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี

                       ที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด
                              การทบทวนเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิที่ดินและป่ าที่ร้องเรียนมายัง ก.ส.ม.
                                                                          ่
                       จะตรวจสอบเพื่อคัดเลือกเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิที่ดินและปาซึ่งมีประมาณ 300  เรื่อง เพื่อจัดเข้ากับ
                            ั
                                               ่
                       กลุ่มปญหา 5 กลุ่มคือที่ดินปา ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณะ ที่ปฏิรูปที่ดิน และที่เอกชน แล้วคัดเลือก
                       กรณีศึกษาที่จําแนกไว้แล้วในแต่ละกลุ่มให้ได้ราว 5  -  15 กรณี โดยกําหนดเกณฑ์การคัดเลือกให้มีความ
                       หลากหลายด้วยวิธีกระจายตัวอย่างให้ทั่วภูมิภาค สภาพภูมินิเวศ กลุ่มชาติพันธุ์ และเงื่อนไขเฉพาะ
                                                          ่
                                                                                              ่
                       ทางกฎหมาย เช่น การเลือกกรณีศึกษาที่ดินปาไม้ ก็จะเลือกให้ครอบคลุมพื้นที่พิพาทในเขตปาสงวนแห่งชาติ
                                       ่
                       เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา เขตอุทยานแห่งชาติเป็นต้น
                              การจัดประชุมกลุ่มเป้ าหมายเฉพาะ (focused  group)  จัดเป็นเวทีวิเคราะห์ข้อมูลการ
                       ละเมิดสิทธิในที่ดินประเภทต่าง ๆ และการวิเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายและการปฏิรูปกฎหมาย

                                                                                                      2‐12
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31