Page 23 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 23
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติให้ความเห็นประกอบ
ก่อนมีการดําเนินการดังกล่าว”
มาตรา 85 ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบฯ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการ
กําหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดิน การกระจายการถือครองที่ดิน การจัดวางผังเมือง การจัดให้มีแผนจัดการ
ทรัพยากรนํ้าและทรัพยากรธรรมชาติอื่น และส่งเสริม บํารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มาตรา 87 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติ
และระดับท้องถิ่น ฯลฯ
กิตติศักดิ์สรุปว่า สิทธิของบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชนเท่าที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
มีประเด็นสําคัญอย่างน้อย 8 ประการ
1. สิทธิในการได้รับการยอมรับความมีอยู่ของชุมชน (ม. 66 ม. 67)
2. สิทธิในการดํารงอยู่และดําเนินกิจการของชุมชน
3. สิทธิในการถือครองทรัพย์สินของชุมชน
4. สิทธิในการธํารงรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน (ม. 66 ม. 67)
5. สิทธิในการมีส่วนร่วมคุ้มครองส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ั
6. สิทธิในการได้รับการรับฟงจากหน่วยงานของรัฐ
ั
7. สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในกานอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปญญาท้องถิ่น
และศิลปวัฒนธรรม (ม. 66)
8. สิทธิในการบํารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน (ม. 66)
ั
ปญหาเบื้องต้นในเรื่องสิทธิชุมชนคือการรับรองสถานะหรือความมีตัวตนทางกฎหมายของ
ั
ชุมชนหรือปญหาสภาพบุคคลทั้งในฐานะบุคคลธรรมดาและในฐานะนิติบุคคลของชุมชน เพราะในทาง
กฎหมายการมีสภาพบุคคลหมายถึงสถานะที่จะมีสิทธิและหน้าที่ได้ ผู้ที่ไม่ได้รับการยอมรับให้มีสภาพ
บุคคลย่อมไม่มีทางจะมีสิทธิและหน้าที่ได้
้
กล่าวโดยสรุป สิทธิมนุษยชนที่จําเป็นจะต้องส่งเสริมให้เกิดการปกปองคุ้มครองมิให้เกิดการ
ละเมิดสิทธิแก่ประชาชนที่สําคัญได้แก่ สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรม สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และสิทธิชุมชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ฐานทรัพยากร
2.5) สิทธิชุมชน
สิทธิของบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชน โดยทั่วไป ชุมชน หมายถึงกลุ่มหรือหน่วยทางสังคมที่มีที่เป็น
อยู่แล้วตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยของตนเองและครอบครัว ชุมชนที่อาศัย
อยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกันซึ่งอาจไม่ใช่พื้นที่ในเขตปกครอง แม้อาจจะมีระยะเวลาไม่นานแต่มีความสัมพันธ์กัน
มีกฎเกณฑ์กติกาที่เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติร่วมกันเรียกว่าชุมชนท้องถิ่น แต่ถ้าอยู่รวมกันในถิ่นเดียวกัน
มานานจนสามารถสร้างและพัฒนากิจกรรมจนเกิดเป็นวิถีชีวิตจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติ
ร่วมกัน เช่น ภาษา การแต่งกาย ความเชื่อความศรัทธา เรียกว่าชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม (เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์,
2551)
2‐9