Page 16 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 16
ละเมิดสิทธิในมุมกว้าง แม้จะมีข้อเสนอในการปรับแก้กฎหมายมามากแล้วแต่เป็นข้อเสนอจากมุมมอง
การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่พบงานใด ๆ ที่ศึกษาวิเคราะห์เจาะลึกประเด็นการ
ละเมิดสิทธิเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงระเบียบกฎหมายในระดับปฏิบัติการที่ละเมิดสิทธิของประชาชน
ดังนั้น จึงจําเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงรายละเอียดของกฎหมาย ระเบียบ ปฏิบัติ มติคณะรัฐมนตรี
ดังกล่าวอย่างละเอียด โดยใช้ข้อมูลรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
ั
ั
แห่งชาติเป็นฐาน เพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ปญหาข้อเท็จจริง ปญหาทางกฎหมาย ตลอดจน
ั
ความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างสภาพปญหาจริงกับกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ อันนํามาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ที่เป็นรูปธรรม สามารถนําไปสู่การปรับเปลี่ยนตัวบทกฎหมายนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงได้ต่อไป
2.2 แนวความคิด
การมีที่ทํากินเป็นของตนเองถือเป็นสิทธิพื้นฐานของราษฎรในชนบท ที่จะช่วยให้สามารถ
ทํามาหากินเพื่อดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ แม้รัฐธรรมนูญก็ยังมีเจตนารมณ์ที่จะ
ช่วยให้เกษตรกรทุกคนมีที่ทํากินโดยได้ระบุไว้ในมาตรา 85 (2) ให้กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
และดําเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง แต่ในทางปฏิบัติ
รัฐได้ประกาศพื้นที่ที่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นที่ของรัฐทําให้ราษฎรและชุมชน
สูญเสียสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถือสืบต่อกันมา ที่ดินส่วนหนึ่งที่นํามาจัดสรรให้เกษตรกรยากจน
แต่ก็ไม่สามารถช่วยเกษตรกรให้มีความสามารถรักษาที่ดินไว้ได้ เกษตรกรไร้ที่ดินกลับมีจํานวนเพิ่มขึ้น
ที่เป็นดังนี้เพราะที่ดินกลายเป็นสินค้าที่กระจุกตัวอยู่ในมือผู้ที่มีทุนทรัพย์แต่มิได้ถือครองใช้ประโยชน์
ั
เกษตรกรรายย่อยจึงถูกเบียดขับออกจากที่ดินด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ปญหาที่ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเด็นการละเมิดสิทธิที่ดินจึงเป็นเรื่องสําคัญที่จะต้องเร่งแก้ไขด้วยการศึกษาหาข้อมูล ความรู้ และ
ั
ประสบการณ์ที่จะนําไปสู่การแก้ปญหาทั้งในระดับโครงสร้างอันได้แก่นโยบาย กฎหมาย และในระดับ
ปฏิบัติซึ่งเป็นกรณีพิพาทขัดแย้งกันในชุมชนให้สําเร็จ
ั
ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่จําเป็นสําหรับชีวิตของชาวชนบท และยังเป็นปจจัยการผลิตสําคัญ
ที่ช่วยผลิตอาหารเลี้ยงผู้คนทั้งโลก สิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการยังชีพจึงเป็น
สิทธิขั้นพื้นฐานที่สําคัญซึ่งเชื่อมโยงไปสู่สิทธิมนุษยชนด้านอื่น ๆ เช่น สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคม
สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิทางการเมือง และสิทธิความเป็นพลเมือง การสูญเสียสิทธิในที่ดินจึงเป็นการสูญเสีย
ที่ยิ่งใหญ่ที่จะนําไปสู่ความเศร้าสลดต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทเพราะเป็นเหตุให้ต้อง
สูญเสียสิทธิด้านอื่น ๆ ไปด้วย เช่น การเข้าไม่ถึงทรัพยากร หรือการเข้าไม่ถึงสวัสดิการของสังคมและ
ั
สวัสดิการของรัฐในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดปญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจ
้
และสังคมอย่างรุนแรง การช่วยกันคุ้มครองปองกันการละเมิดสิทธิในที่ดินของประชาชนจึงมีความ
จําเป็นยิ่ง
ั
การสูญเสียสิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดจากเหตุปจจัยหลายประการ แต่ส่วนสําคัญ
ที่เป็นสาระสําคัญของการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ราษฎรไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่หน่วยงานของรัฐ
และเอกชนใช้อํานาจรัฐทั้งด้วยอํานาจตามกฎหมายที่สุจริตและไม่สุจริตใจ เข้าไปครอบครอง กําหนด
2‐2