Page 23 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 23

2


                       จากปญหาดังกลาว ลวนแตเปนปญหาที่สงผลกระทบตอวิถีชีวิต ความเปนอยู คุณภาพชีวิต และ
               ศักดิ์ศรีความเปนมนุษยของผูติดเชื้อและผูใกลชิด ทั้งนี้สาเหตุสําคัญมาจากการที่สังคม เจาหนาที่ และบุคลากร

               ที่เกี่ยวของขาดความรู ความเขาใจที่ถูกตองในเรื่องเอชไอวีหรือเอดส ตลอดจนขาดความตระหนักในเรื่องสิทธิ
               มนุษยชนและศักดิ์ศรีความเปนมนุษยอยางเสมอภาคและเทาเทียมในประชากรทุกกลุม ตามที่บัญญัติไวใน
               รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน และในคําประกาศ
               เจตจํานงเกี่ยวกับ HIV/AIDS (Declaration of Commitment on HIV/AIDS) ซึ่งกําหนดวา “สิทธิมนุษยชน

               และเสรีภาพขั้นพื้นฐานสําหรับทุกคนเปนสิ่งจําเปนในการลดภาวะเสี่ยงตอเอชไอวี/เอดส และเพื่อขจัดการ
               เลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ เพื่อเปนหลักประกันวาผูติดเชื้อ และผูที่มีภาวะเสี่ยงทุกคนตองไดรับความเคารพใน
               สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในอันที่จะเขาถึงการศึกษา การจางงาน บริการดานสุขภาพและสังคม
               การปองกันโรค การชวยเหลือและการรักษาขอมูลขาวสารและการปกปองคุมครองตามกฎหมาย โดยความ

               เคารพตอความเปนสวนตัวและความลับสวนบุคคล ตลอดจนเพื่อขจัดความรูสึกอับอาย และการแยกตัวออก
               จากสังคมของผูติดเชื้อเอชไอวี”
                       ดวยเหตุดังกลาว สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ จึงเห็นชอบให สถาบันวิจัยสังคม
               จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เปนที่ปรึกษาโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของ

               ผูติดเชื้อเอชไอวี” เพื่อใหมีการศึกษาวิจัยสาเหตุและสภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพใหไดรับ
               การปกปองคุมครองสิทธิตามกฎหมายและตามหลักการสิทธิมนุษยชนอยางเปนรูปธรรม รวมทั้งจัดทํา
               ขอเสนอแนะเชิงนโยบายและหรือขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายตอหนวยงานที่รับผิดชอบตอไป


               1.2 วัตถุประสงค
                       (1)  เพื่อศึกษาสภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
                       (2)  เพื่อศึกษาวิเคราะห ระเบียบ ประกาศ นโยบายของรัฐ มาตรการทางกฎหมาย แนวทางการ
                          ปฏิบัติและการดําเนินของหนวยงานที่เกี่ยวของกับการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของ

                          ผูติดเชื้อเอชไอวี
                       (3)  เพื่อเสนอรูปแบบการคุมครองสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีในการประกอบอาชีพ และ
                          เสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของ

                          ผูติดเชื้อเอชไอวีที่ประสบปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ และสรุปเปนขอเสนอแนะ
                          เชิงนโยบายและหรือขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายตอหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบ

               1.3 ขอบเขตการดําเนินงาน
                       การศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี มีขอบเขตการ

               ดําเนินงานดังนี้
                   (1) ขอบเขตเนื้อหาของการศึกษาวิจัย
                       (1.1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ หลักการสิทธิมนุษยชนและ

               มาตรฐานสากลที่เกี่ยวของกับการปกปองคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี จากกฎหมาย
               ในประเทศและระหวางประเทศ ปฏิญญาสากล กติกาและอนุสัญญาระหวางประเทศ เอกสารทางวิชาการ
               หนังสือ ตํารา รายงานการวิจัยที่เกี่ยวของในประเทศไทยและตางประเทศ รวมถึงหลักการ มาตรการและแนว
               ปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวของกับการปกปองคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อเอชไอวีตามกฎหมายของตางประเทศ อยางนอย

               3 ประเทศ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28