Page 25 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 25

4


                       การตีตราในกลุมผูติดเชื้อเอชไอวีมีหลายแบบ เชน การปฏิเสธ การโดดเดี่ยว การกลาวโทษและทําให
               อับอาย เมื่อผูติดเชื้อกลัวการถูกเลือกปฏิบัติก็มักจะทําใหพวกเขาไมกลาที่จะรักษาตัวเอง หรือแมแตจะเปดเผย
                                 2
               วาตนเองเปนผูติดเชื้อ  ดังนั้น นอกจากการเลือกปฏิบัติจะเปนปญหาในตัวเองแลว ยังมีผลทําใหการปองกัน
               และการจัดการการแพรระบาดของโรคยุงยากมากขึ้น ยิ่งไปกวานั้น การตีตรากลุมผูติดเชื้อยังขยายไปถึงคนรุน
               ตอไปดวย ทําใหพวกเขาตองรับภาระทางจิตใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กที่ตองสูญเสียสมาชิกในครอบครัว
               และยังตองเสียโอกาสอื่นๆ ทั้งในดานการศึกษา และความสัมพันธในสังคม

                       การยุติปญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อเอชไอวี จึงเปนเรื่องสําคัญเทาๆ กับการพัฒนา
               วัคซีน โดยการใหความรู มีความสําคัญอยางยิ่งในการขจัดปญหาดังกลาว ยุทธศาสตรในการแสดงใหเห็นถึง
               ปญหาการตีตราเปนเรื่องสําคัญสําหรับการปองกันโรค และโปรแกรมการใหความรู และจะตองขยายไปใน
                                      3
               ชุมชนเพื่อใหมีประสิทธิภาพ
                       แนวคิดเรื่องการตีตรา และการเลือกปฏิบัติมีความเชื่อมโยงตอกัน โดยเฉพาะการตีตราผูติดเชื้อ
               เอชไอวี เมื่อพวกเขาถูกตีตราจากสังคมหนึ่งๆ ก็ทําใหถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกีดกันจากสังคม และอาจถูกละเมิด
               สิทธิมนุษยชนดวย โดยในหลายประเทศ มีการรายงานถึงกรณีที่ผูติดเชื้อถูกปฏิเสธสิทธิในการรักษาพยาบาล
                                                                4
               การทํางาน การศึกษารวมถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวดวย
                       การตีตราหมายถึง “ภาวะที่บุคคลหรือกลุมชนในสังคมหนึ่งกําหนดวาอะไรคือความแตกตางของ
               บุคคลลักษณะของบุคคลที่พึงประสงคหรือไมพึงประสงคควรเปนอยางไรลักษณะใดที่มีความแตกตางไปจากที่
               คนสวนใหญประสงคจะถือวามีความเบี่ยงเบนสงผลใหบุคคลสูญเสียชื่อเสียงไมนาไววางใจหรือเกิดความอับอาย

               ตลอดจนทําใหบุคคลนั้นรูสึกวาคุณคาตัวตนลดลงในสายตาของสังคมบุคคลที่ไดรับตราบาปหรือถูกตีตราบาป
               จะเกิดความรูสึกวา “ตนมีความแตกตางจากผูอื่นอยางที่ไมพึงประสงค” (Undesirable difference) ทั้งนี้
               คุณลักษณะที่จะถูกตีตราบาปดังกลาวขึ้นอยูกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่คนจํานวนมากในสังคมนั้นๆ
               มีอํานาจเปนผูกําหนดขึ้นซึ่งความหมายของตราบาปเนนไปที่มุมมองของสังคมที่อางอิงจากบรรทัดฐานทาง
               สังคมหลอหลอมรวมกันเปนความรูสึกที่แยกแยะ  “ความตาง”  (difference)  หรือ  “ความเบี่ยงเบน”

               (deviance) สงผลใหบุคคลเกิดการตอตานจากสังคมโดยผูที่ถูกตีตราบาปจะถูกมองจากคนในสังคมวาเปนผูที่มี
                                                                 5
               “ลักษณะเดนที่ทําใหเกิดการเสื่อมเสีย” (Spoiled Identity)
                       บุคคลมีแนวโนมที่จะถูกสังคมตีตรามีลักษณะ 3 ประการไดแก มีความผิดปกติทางกายภาพ เชน

               รางกายพิการหรือดอยความสามารถ มีความเบี่ยงเบนทางดานวัฒนธรรมหรือกฎเกณฑมาตรฐานของสังคม
               เชน คนที่มีความผิดปกติทางจิต คนติดยา หรือผูมีพฤติกรรมรักรวมเพศ และความแตกตางทางเผาพันธุ
               เชื้อชาติ ชนชั้น ศาสนา เชน ชนกลุมนอย




               2
                R.Smart. HIV/AIDS-related Stigma and Discrimination. Module 1.4 [online] available at
               http://www.iiep.unesco.org/fileadmin/user_upload/Cap_Dev_Training/pdf/1_4.pdf
               3
                R.Smart. Ibid.
               4 UNAIDS.HIV/AIDS-related Stigma, Discrimination and Human Right Violation: Cases Studies of Successful
               Programme, 2005 [online] available at http://data.unaids.org/publications/irc-pub06/jc999-
               humrightsviol_en.pdf
               5
                 Erving Goffman. Stigma : Note on the Management of Spoiled Identity. Harmondsworth: Penguins Book,
               1963 อางถึงใน นิฮาฟซา หะยีวาเงาะ, ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดสและการตีตราทางสังคม :กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัด
               ปตตานี, วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษยและสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ
               มหาวิทยาลัย, 2555, หนา 18-19.
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30