Page 27 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 27

6


                       ขั้นที่สอง การตีตราและการเลือกปฏิบัติเปนการซ้ําเติมอาการของผูติดเชื้อมีความเสี่ยงมากกวาเดิม
               ทําใหพวกเขายิ่งถูก ตีตราและกีดกันมากยิ่งขึ้น


               1.5 ระเบียบวิธีการศึกษา
                       การศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีนี้ ถูกออกแบบใหเปน
               การวิจัยแบบมีสวนรวม (Participatory  Research) ซึ่งเปนการวิจัยที่เปดโอกาสใหผูมีสวนไดสวนเสีย

               (Stakeholders) ไดมาสรางความรูรวมกัน (co-production of knowledge) โดยอาศัย “การประชุมเชิง
               ปฏิบัติการของผูมีสวนสวนเสีย ครั้งที่ 1” (stakeholder’s workshop #1) เปนเวทีในการเริ่มตนตั้งโจทย
               วิจัย การพัฒนาเครื่องมือรวมกัน
                       การวิจัยแบบมีสวนรวม มีจุดเดนในแงที่ทําใหผูวิจัยสามารถเก็บขอมูลไดอยางลุมลึก รอบดาน และยัง

               เปนโอกาสในการเสริมพลังทางดานความรูใหกับผูมีสวนไดสวนเสียที่มีสวนรวมในการวิจัยดวย
                       ดังที่ไดกลาวไวในสวนที่แลววา สาเหตุสําคัญของการตีตราและการเลือกปฏิบัติสวนหนึ่งมาจากการ
               ขาดความรูความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับการแพรกระจายของเชื้อเอชไอวี คณะผูวิจัยจึงออกแบบใหการวิจัย
               ครั้งนี้ มีสวนในการพัฒนาความรูความเขาใจของคณะผูวิจัย และผูมีสวนไดสวนเสียไปพรอมๆ กัน เพื่อให

               ขอเสนอแนวทางการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อที่เปนจริง
                       เพื่อวัตถุประสงคดังกลาว ผูวิจัยจึงใชวิธีการเก็บขอมูล และประยุกตใชเครื่องมือในการเก็บขอมูล
               หลายอยางประกอบกัน ดังนี้

                       1.  การวิจัยเอกสารมี 2 ขั้นตอนที่ตอเนื่องกันดังนี้
                          1.1  การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ หลักการสิทธิมนุษยชน
               หลักการสากล และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวของกับการปกปองคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
               เอชไอวี จากกฎหมายในประเทศไทยและตางประเทศ ปฏิญญาสากล กติกาและอนุสัญญาระหวางประเทศ
               เอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตํารา รายงานการวิจัยที่เกี่ยวของในประเทศไทยและตางประเทศ รวมถึงการศึกษา

               เปรียบเทียบตัวอยางมาตรการของตางประเทศอยางนอย 3 ประเทศโดยใหความสําคัญกับประเทศที่ประสบ
               ความสําเร็จในการคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อ ประเทศที่มีกฎหมายหามการเลือกปฏิบัติในแบบตางๆ กัน เชน
               เครือรัฐออสเตรเลีย อาจเปนตัวอยางของประเทศที่มีมาตรการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ

               ในแบบเสรีนิยม ประเทศสหราชอาณาจักรอาจเปนตัวอยางของประเทศที่มีนโยบายรัฐสวัสดิการ และประเทศ
               สาธารณรัฐฟลิปปนส เปนตัวอยางของประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตดวย
                          1.2  การวิเคราะหแนวทางและนโยบายการแกไขปญหาของรัฐบาลไทยในการคุมครองสิทธิใน
               การประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี โดยศึกษาจากระเบียบ ประกาศ นโยบายของรัฐ มาตรการทาง

               กฎหมาย แนวทางการปฏิบัติและการดําเนินงานของหนวยงานตางๆ ที่เกี่ยวของ
                       2.  การศึกษาสภาพการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในมิติตางๆ สาเหตุและปจจัยที่ทําให
               เกิดปญหา รวมทั้งผลกระทบในมิติสิทธิมนุษยชนตอการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
               อาศัยการเก็บขอมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งใหความสําคัญกับการทําความเขาใจและตีความขอมูลอยางลุมลึกในมุมมอง

               แบบคนใน และเก็บขอมูลเชิงลึกจากผูใหขอมูลหลัก (Key Informant) ซึ่งเปนผูที่สามารถใหขอมูลไดอยาง
               ชัดเจน จึงทําใหสามารถไดผลการศึกษาที่หนักแนน และเชื่อถือได ซึ่งแตกตางจากการศึกษาเชิงปริมาณที่เนน
               การสรางขอสรุปทั่วไป (generalization) จึงตองใหความสําคัญกับจํานวนตัวอยางที่สามารถเปนตัวแทน
               ประชากรได แตการเก็บขอมูลเชิงปริมาณจะไมสามารถแสดงใหเห็นปญหาเฉพาะบางประการ โดยเฉพาะการ

               เลือกปฏิบัติไดชัดเจน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32