Page 19 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 19

XIV


                   3.2 ขอเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของ
                       ผูติดเชื้อเอชไอวี โดยใชมาตรการอื่นๆ


                       จากผลการศึกษาสถานการณการเลือกปฏิบัติ และความพยายามในการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติ
               ในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในสวนที่ไมใชมาตรการทางกฎหมาย พบวา แมจะมีความริเริ่มในการ
               คุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีดังที่ปรากฏใน แนวปฏิบัติการปองกันและจัดการดาน

               เอดสในสถานประกอบกิจการ ซึ่งกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงานประกาศใชในป พ.ศ. 2548  (ตอมา
               ปรับปรุงแกไขในป 2554) และแนวปฏิบัติแหงชาติวาดวยการปองกันและบริหารจัดการดานเอดสในสถานที่
               ทํางาน ซึ่ง คช.ปอ. ประกาศใชในป พ.ศ. 2552 แตก็ดูเหมือนวาแนวปฏิบัติทั้งสองฉบับ จะไมสามารถบังคับ
               ใชไดอยางมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก ยังพบวามีสถานประกอบการจํานวนหนึ่งยังมีนโยบายเลือกปฏิบัติตอการ

               ประกอบอาชีพของผูติดเชื้อในหลายประเภทกิจการ และในสวน คช.ปอ. ซึ่งแมจะเปนกลไกความรวมมือ
               ระหวางภาคราชการและภาคประชาสังคม มีการจัดทํายุทธศาสตรการปองกันและแกไขปญหาเอดสชาติ พ.ศ.
               2555-2559 ที่มีเปาหมายหนึ่งในการลดปญหาการเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อเอชไอวี แต เนื่องจากขาดทรัพยากร
               สนับสนุนอยางตอเนื่อง จึงเปนอุปสรรคในการดําเนินงานลดปญหาการเลือกปฏิบัติอยางมีประสิทธิภาพ

                       ในขณะที่การเขาถึงกลไกภาครัฐ เปนเรื่องยาก และนอยครั้งที่ทําใหเกิดการแกไขปญหาในทางปฏิบัติ
               กลไกที่ผูติดเชื้อสามารถเขาถึงไดมากที่สุด และสามารถผลักดันใหเกิดการแกไขปญหาเฉพาะหนาไดมากที่สุด
               จึงกลายเปนกลไกภาคประชาสังคม อยางไรก็ดี กลไกภาคประชาสังคม ที่เนนการทํางานลดการเลือกปฏิบัติ
               โดยใชวิธีการเสริมสรางความเขาใจกับผูประกอบการ ก็มีขอจํากัดในการดําเนินงานเนื่องจากมีทรัพยากรและ

               บุคลากรที่จํากัด ดังนั้น จึงจําเปนตองพิจารณาแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการ
               ประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี นอกเหนือจากมุมมองทางกฎหมาย และกลไกภาครัฐ
                       จากผลการวิเคราะหบริบทของการคุมครองสิทธิผูติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย รูปแบบที่เหมาะสมใน

               การคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี จึงเปนรูปแบบการสงเสริมการคุมครองสิทธิใน
               การประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในภาคประชาสังคม โดยสนับสนุนและเสริมพลังใหกลไกในภาค
               ประชาสังคมที่สามารถดําเนินงานคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีอยูแลว มีทรัพยากร
               ในการดําเนินงานที่เพียงพอ เพื่อใหสามารถเขาถึงผูที่ประสบปญหาไดอยางกวางขวางขึ้น และเสริมพลังให
               ผูติดเชื้อมีศักยภาพในการคุมครองสิทธิ และดูแลซึ่งกันและกันอยางยั่งยืน แนวทางการคุมครองสิทธิในการ

               ประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในดานนี้ มีดังนี้

                   (1) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ควรกําหนดมาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุนการดําเนินงาน
                       ขององคการเอกชนดานสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเจาของปญหาที่ไดรับผลกระทบในการเลือกปฏิบัติ

                       และละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นดังกลาว โดยอาจพิจารณาแนวทางการสงเสริมสิทธิมนุษยชนใน
                       ภาคประชาสังคม ดวยการจัดตั้งกองทุนเพื่อสงเสริมการคุมครองสิทธิมนุษยชน  รวมทั้งเสนอแนะไป
                       ยังรัฐบาลเพื่อใหมีการตั้งกองทุนเพื่อสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีผาน

                       คณะกรรมการแหงชาติวาดวยการปองกันและแกไขปญหาเอดส (คช.ปอ.) ทั้งนี้เพื่อลดชองวางใน
                       การดําเนินงานเพื่อคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีของภาครัฐ โดยยอมรับและ
                       สนับสนุนใหเกิดความรวมมือจากภาคประชาสังคม และเสริมความเขมแข็งใหกับองคกรภาคประชา
                       สังคม และเจาของปญหาใหมีสวนในการแกไขปญหาอยางยั่งยืน โดยถือเปนการใชอํานาจตามมาตรา
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24