Page 78 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 78

69


                  3.6    แนวปฏิบัติของตางประเทศในการควบคุมการขยายตัวของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญ

                        มีหลายประเทศที่มีการใชมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมธุรกิจคาปลีกขนาดใหญ หรือกลุม

                  ทุนตางชาติ เพื่อปองกันผลกระทบที่จะเกิดแกรานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่นหรือสังคม โดยอาศัยมาตรการ
                  ควบคุมโครงสรางหุน ควบคุมการขยายตัวอยางรวดเร็ว ควบคุมประเภทของการประกอบธุรกิจของคน
                  ตางชาติ รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมการแขงขันทางการคาที่ไมเปนธรรม ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มุงศึกษา
                  มาตรการทางกฎหมายเฉพาะการควบคุมโครงสรางของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญ ไดแก


                         3.6.1 ตัวอยางมาตรการทางกฎหมายของประเทศญี่ปุน

                        ประเทศญี่ปุนมีพัฒนาการทางกฎหมายในการควบคุมรานคาปลีกสมัยใหมอยูหลายฉบับ ไดแก
                  (1) กฎหมายหางสรรพสินคา (Department Store Law) (2) กฎหมายรานคาปลีกขนาดใหญ (The Act on
                  the Adjustment of Business Activities of Retail Business at Large-scale Retail Stores (Act No.
                  109 of 1973)) และ (3) กฎหมายที่ตั้งของรานคาปลีกขนาดใหญ (Large Scale Retail Store Law: LSLL)


                        กฎหมายฉบับแรกใชบังคับเมื่อ ค.ศ. 1937  โดยบังคับใชกับหางสรรพสินคาที่มีขนาดใหญ (1,500
                  หรือ 3,000  ตารางเมตรขึ้นไป)  ขึ้นอยูกับสภาพของเมืองที่ตั้งหางสรรพสินคา เพื่อปองกันผลกระทบรานคา
                  ขนาดเล็กใหสามารถแขงขันได โดยกฎหมายไดกําหนดใหหางสรรพสินคาตองไดรับใบอนุญาตจากรัฐ และ
                  กําหนดเงื่อนไข เชน การกอสราง การขยายสาขา การกําหนดวันเปดและปด โดยกําหนดใหหางสรรพสินคา

                  ตองปดเวลา 18.00 น. และมีวันหยุดในแตละเดือนไมนอยกวา 4 วัน

                        ตอจากนั้นในป ค.ศ. 1973 ไดมีการตรากฎหมาย ชื่อวา “The Act on the Adjustment of Business
                  Activities of Retail Business at Large-scale Retail Stores 1973” มาบังคับใชแทน เพื่อรองรับการ
                  เปลี่ยนแปลงรูปแบบของรานคาปลีกสมัยใหมที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากหางสรรพสินคา เชน
                                                                        37
                  รานสะดวกซื้อ รานซุปเปอรมารเก็ต ฯลฯ มีรายละเอียดดังตอไปนี้36
                             1)  ผูประกอบกิจการจะตองสงรายละเอียดแผนการกอสรางใหแกรัฐมนตรี จากนั้นตองแถลง

                  แผนการกอสรางใหแกคณะกรรมการตัวแทนจากทองถิ่น ประกอบดวยผูประกอบการรายยอยในพื้นที่
                  ผูเชี่ยวชาญและตัวแทนผูบริโภค

                             2)  การพิจารณาอนุญาตใหประกอบกิจการ รัฐมนตรีจะพิจารณาถึงผลกระทบที่มีตอรานคา
                  ขนาดยอย โดยมีการรับฟงความเห็นจากหอการคาจังหวัด และรับฟงขอเสนอแนะระดับจังหวัด รวมถึง
                  คณะกรรมการหางคาปลีกขนาดใหญ

                             3) การอนุญาตภายใตเงื่อนไข ดังตอไปนี้


                                (1) วันทําการของกิจการ โดยคํานึงถึงวันหยุดทําการหางใหมากขึ้น
                                (2) การปรับลดพื้นที่เล็กลง


                                (3) เวลาปดทําการใหเร็วขึ้น




                  37
                     จีรศักดิ์ ชาติอารยะวดี, นโยบายควบคุมหางคาปลีกขนาดใหญ ศึกษาเปรียบเทียบญี่ปุน-ไทย, พ.ศ. 2548,
                  หนา 45-72.
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83