Page 88 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 88
76
สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน จะส่งผลดีต่อการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้
เนื่องจากการปฏิบัติงานของต ารวจจะมีลักษณะเป็น “การเน้นภารกิจ” หรือต้องการ
ผลส าเร็จเป็นส าคัญ
สาระแห่งสิทธิที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกาย และสิทธิกระบวนการ
ยุติธรรม ครอบคลุมประเด็นส าคัญๆ แล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ตัวชี้วัด
- สิทธิหลายด้านที่ยังไม่มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ในร่างตัวชี้วัด ควรที่จะก าหนดขึ้นให้สอดคล้องกับ
พันธะหน้าที่ขั้นต่ าของรัฐ และพิจารณาประกอบกับสภาพความเป็นจริงของภาระงานของ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (ต ารวจ) ซึ่งมีภาระงานหลายด้านมาก
- ตัวชี้วัดโครงสร้างที่ก าหนดให้เป็นภาคี ส่วนใหญ่ประเทศไทยเป็นภาคีแล้ว น่าจะพิจารณา
ถึงการน ามาปรับใช้ โดยการใช้กฎหมายภายใน (กฎหมายอาญา กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติ)
เป็นตัวชี้วัด และควรลงรายละเอียดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ตัวชี้วัดโครงสร้างที่ก าหนดแผนและนโยบายควรมีการบ่งชี้ถึงการน าไปใช้ และควรมี
ตัวชี้วัดที่แสดงถึงคุณภาพ ของการใช้แผน หรือนโยบาย ตัวชี้วัดโครงสร้างควรพิจารณา
รวมถึงทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรรอย่างพอเพียง เพื่อให้การด าเนินงานบรรลุเปูาหมายด้วย
- ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ก าหนดขึ้น บางตัวยังไม่สอดคล้องกับสภาพการที่เป็นจริง บางตัว
คลุมเครือ เช่น ความพึงพอใจของเหยื่อ ควรระบุว่าความพึงพอใจเรื่องใด ในขั้นตอนใด
(ในชั้นมีค าพิพากษา หรือชั้นการด าเนินคดี)
- ตัวชี้วัดที่ก าหนดขึ้นอาจมีความยากล าบากในการได้ข้อมูล เพราะยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูล
ที่ตัวชี้วัดต้องการหลายประเภท นอกจากนั้นอาจมีปัญหาว่าหน่วยงานใดมีหน้าที่ในการ
จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น
- ไม่ควรเน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลขอย่างเดียว เช่น จ านวนคดี เปอร์เซนต์ เพราะตัวเลขเหล่านี้
จัดท าขึ้นได้ (แต่งตัวเลข) นอกจากนั้นหน่วยงานต่างๆ (ไม่เฉพาะแต่ต ารวจ) ก็มีวีธีการ
ตกแต่งตัวเลขเพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด (หรือเปูาหมาย) ควรมีข้อมูลเชิงคุณภาพ
ประกอบด้วย
คิดว่าถ้ามีกรอบตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้นจะช่วยให้การด าเนินงานของเจ้าพนักงานต ารวจมี
ความชัดเจนขึ้น ซึ่งน่าเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงาน
ความเห็นของ นายขรรค์ชัย คงเสน่ห์ ผู้อ านวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป ส านักบริหารกลาง
ส านักงาน กสม.
การแบ่งสาระแห่งสิทธิเป็นห้ากลุ่มและในแต่ละกลุ่มแบ่งเป็นด้านๆ ครอบคลุมมิติสิทธิด้าน
ต่างๆ ของสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลเพียงพอแล้ว และ
ในการพัฒนาตัวชี้วัด ไม่ควรก าหนดไว้ก่อนว่าจะต้องมีตัวชี้วัดกี่ตัว แต่ควรพิจารณาจากความ
จ าเป็นที่ต้องการที่จะให้ข้อมูลแสดงเปูาหมาย ที่ขึ้นอยู่กับการทบทวนสาระแห่งสิทธิด้านต่างๆ
ตัวชี้วัดอาจมีเป็นร้อยตัว แต่เมื่อได้แล้วจะต้องพิจารณาทั้งหมด จัดกลุ่มว่าตัวชี้วัดใดที่เป็น
ตัวชี้วัดร่วมกันได้ ตัวชี้วัดใดเป็นตัวชี้วัดที่ส าคัญที่สุด ตัวชี้วัดใดไม่มีความส าคัญ
ในร่างตัวชี้วัดยังขาดตัวชี้วัดผลลัพธ์ของสาระแห่งสิทธิอีกหลายด้าน ควรพิจารณาเพิ่มให้
ครบถ้วนเพราะตัวชี้วัดผลลัพธ์จะแสดงผลการด าเนินงานของรัฐบาลโดยชัดเจน ตัวชี้วัด