Page 92 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 92
80
บทที่ 4
แนวทางการพัฒนาชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศและระดับประเทศ
ในบทนี้จะศึกษากระบวนการการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเพื่อใช้ในการประเมินในระดับระหว่าง
ประเทศและระดับชาติของบางประเทศ ในระดับระหว่างประเทศผู้ศึกษาได้ศึกษากระบวนการจัดท าตัวชี้วัดที่
พัฒนาโดยส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ส่วนในระดับชาติคณะผู้ศึกษาได้เลือกการ
จัดท าการประเมินของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อน าผลการ
วิเคราะห์เปรียบเทียบไปใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัดส าหรับประเทศไทยในบทที่ 5 ต่อไป
บทนี้จะแบ่งเป็นสามหัวข้อดังนี้
1. การพัฒนาตัวชี้วัดโดยส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
2. การพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศ
3. สรุปความเห็นจากการศึกษา
4.1 การพัฒนาตัวชี้วัดโดยส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
การใช้เครื่องมือทางข้อมูลสถิติในการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน มิใช่เป็นเรื่องใหม่ในกลไกการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ ผู้จัดท ารายงานพิเศษเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ได้พัฒนา
ตัวชี้วัด เพื่อการส่งเสริม และ/หรือเพื่อยกระดับสิทธิมนุษยชนที่ตนเองรับผิดชอบ อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้
คณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ใช้ประกอบใน
การประเมินการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
4.1.1 ความเป็นมาของการพัฒนาตัวชี้วัดในระบบสหประชาชาติ
ในช่วงทศวรรษที่ 1990 คณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาได้ตระหนักว่าข้อมูลที่รัฐต่างๆ
รายงานขาดความเชื่อมโยงกับสาระแห่งสิทธิ และไม่ได้เป็นข้อมูลที่เพียงพอที่จะใช้ประเมินพันธกรณีของรัฐใน
การด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนได้ ดังนั้นจึงได้ร้องขอให้ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนได้จัดประชุม
เรื่องการใช้ข้อมูลสถิติเพื่อใช้ในงานสิทธิมนุษยชน และจัดประชุมระหว่างกรรมการประจ าสนธิสัญญาเพื่อหา
แนวทางในการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้น คณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลสถิติ
ได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องและได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนบางด้านที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา