Page 83 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 83

71


                                 บังคับ หรือ Sanction  (เช่น ระยะเวลาการควบคุมตัว การอุ้มหาย)  หรือเป็นเพียง
                                 เปูาหมายที่ต้องการให้มีความก้าวหน้าขึ้น (เช่น สภาพห้องขัง ความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับ

                                 บริการทางการแพทย์ หรือความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา)
                                การแบ่งตัวชี้วัดออกเป็นตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ ตัวชี้วัดผล เป็นสิ่งที่ดีที่
                                 ท าให้คลุมพันธะหน้าที่ของรัฐทุกด้าน ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นควรสะท้อนหน้าที่ทุกด้านของ

                                 รัฐ แต่ยังมีตัวชี้วัดหลายตัวที่ยังสลับที่กัน เช่น งบประมาณในการศึกษา (ไม่ใช่ตัวชี้วัด
                                 ผลลัพธ์ แต่เป็นตัวชี้วัดกระบวนการ)
                                สิทธิหลายด้านยังไม่มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ คณะผู้ศึกษาอาจต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น สิทธิใน

                                 การมีที่อยู่อาศัย อาจพิจารณาจาก จ านวน หรือสภาพของคนที่ต้องไปอยู่อาศัยใต้สะพาน
                                 หรือจ านวน คน หรือจ านวน cases หรือสภาพความรุนแรง ของคนนอนข้างถนน
                                ตัวชี้วัดผลลัพธ์ส่วนใหญ่จะชี้ถึงจ านวน หรือปริมาณ ควรจะต้องเพิ่มมิติคุณภาพของ

                                 ผลลัพธ์ด้วย เช่น ความพึงพอใจของการบริการที่ได้รับจากแพทย์ คุณภาพของการศึกษา
                                 ความพึงพอใจของเหยื่อที่ถูกละเมิดในคดีอาญา แม้ว่าตัวชี้วัดที่จัดท าขึ้นนี้เป็นตัวชี้วัด
                                 เบื้องต้นแต่บางเรื่องสามารถมีตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่บ่งถึงคุณภาพได้  และต่อไปน่าจะมีการ
                                 พัฒนาในส่วนนี้ให้ลึกมากขึ้น

                                การใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข หรือเชิงปริมาณ จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และต้องใช้
                                 ตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย เพราะหลายๆ กรณีที่ตัวเลขอาจไม่สื่อถึงความรุนแรงของ
                                 ปัญหา หรืออาจมีการผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ตัวเลขจ านวนสถิติผู้หญิงถูก

                                 กระท ารุนแรงในครอบครัว อาจเป็นเพียงหนึ่งในร้อยของความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะ
                                 เจ้าพนักงานอาจไม่ลงบันทึกประจ าวัน ถ้าพิจารณาเฉพาะตัวเลขอาจจะท าให้จัดล าดับ
                                 ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขผิดไป

                                ตัวชี้วัดที่ดีต้องน าไปใช้ได้จริง มีที่มาจากสาระแห่งสิทธิซึ่งผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการที่ถูกต้อง
                                 แล้วโดยการทบทวนตราสารและเอกสารมา แต่เมื่อพัฒนามาเป็นตัวชี้วัดแล้วต้อง
                                 พิจารณาต่อไปว่าตัวชี้วัดนั้นน าไปใช้ได้จริงหรือไม่ หาข้อมูลมาตอบตัวชี้วัดได้ไหม ซึ่ง
                                 ประเด็นนี้สัมพันธ์กับองค์กร หรือหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล

                                ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมสัมมนาบางคนเห็นว่าข้อมูลที่จะต้องหาเพื่อตอบตัวชี้วัดอาจจะ
                                 ไม่มีการจัดเก็บ หรือมีความยากล าบากในการได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการ “อุ้มหาย”

                                 (การบังคับให้บุคคลสูญหายโดยการใช้ก าลัง)
                                ข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น
                                  -  ควรเพิ่มเติมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิการเข้าถึง เรื่องของการส่งเสริมและคุ้มครอง

                                     สตรีในภาวะการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือเด็กในวัยที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์
                                  -  ต่อไปควรพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เน้น “สิทธิในยุคที่สาม" (The  Third
                                     Generation Rights) เช่น สิทธิในการพัฒนา สิทธิชุมชน ขึ้นบ้าง

                                  -  รัฐควรมีหน่วยงานกลางที่เก็บรวบรวมข้อมูล และกลั่นกรองข้อมูล (ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
                                     ได้ ไม่ใช่ สร้างตัวเลขขึ้น)  หน่วยงานที่จดทะเบียน หรือเก็บข้อมูลจากประชาชน
                                     อาจจะต้องออกแบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ หรืออาจจะต้องท าวิจัย

                                  -  ข้อมูลที่ใช้ในงานประเมินตามตัวชี้วัดจะแบ่งได้เป็น สามระดับ คือ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88