Page 89 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 89
77
ผลลัพธ์ควรจะแสดงเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่เห็นได้ชัด เช่น สัดส่วน หรือร้อยละ หรือจ านวน
เป็นต้น
ตัวชี้วัดบางตัว สามารถบ่งถึงเปูาหมายอื่นได้ หรือสามารถเป็นตัวชี้วัดสาระแห่งสิทธิด้านอื่นๆ
ได้ด้วย
ควรก าหนดเกณฑ์ขั้นต่ าในการผ่านหรือไม่ผ่าน เช่น สัดส่วน ควรก าหนดว่ากี่เปอร์เซนต์ถึง
ผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
ควรมีการจัดล าดับความส าคัญของตัวชี้วัดในแต่ละช่อง เพื่อให้เห็นว่าเป็นตัวที่ต้องมีขาดไม่ได้
ตัวชี้วัดที่ควรจะมี หรือตัวชี้วัดที่เสริม อาจจะไม่มีก็ได้ หรืออาจจัดล าดับความส าคัญเป็น 1-2-3
ควรมีเกณฑ์หลายเกณฑ์ในตัวชี้วัดเรื่องหนึ่ง โดยอาจใช้ข้อมูลคนละชุดในการใช้พิจารณา
ประเมิน เช่น สิทธิในการศึกษาภาคบังคับ ตัวชี้วัดที่ชี้คุณภาพอาจใช้ข้อมูลจ านวนร้อยละของ
นักเรียนที่ส าเร็จการศึกษา หรือร้อยละของนักเรียนที่ออกกลางคัน หรือร้อยละของอัตราผู้รู้
หนังสือต่อจ านวนประชากร หรืองบประมาณที่จัดสรรในการพัฒนาครูผู้สอน หรือความ
พอเพียงของสื่อหรือเทคโนโลยีการเรียนการสอน ฯลฯ
ตัวชี้วัดบางตัวไม่ส าคัญ อาจพิจารณาตัดออกได้ บางตัวใช้ข้อมูลอื่นมาบ่งชี้ได้
ความเห็นของ นายกมล สวัสดิ์ชูแก้ว ผู้อ านวยการส านักแผนและยุทธศาสตร์ กระทรวงแรงงาน
เห็นว่าสาระแห่งสิทธิตามร่างตัวชี้วัดมีความเกี่ยวพันกับกระทรวงแรงงานน้อย สิทธิด้าน
แรงงานยังไม่สะท้อนในการปฏิบัติตามพันธกรณีตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ดังนั้นควรเน้นที่การปูองกันแรงงานข้ามชาติ แรงงานบังคับ การค้าหญิงและเด็ก ซึ่งภารกิจ
เหล่านั้น (ข้อมูล) ไม่อยู่ในภาระของกระทรวงแรงงาน
ในส่วนของสวัสดิการแรงงานมีปรากฏอยู่ในตัวชี้วัดแล้ว ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ให้การ
คุ้มครองตามมาตรฐานขั้นต่ าไม่น่าจะมีปัญหา ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นอาจท าให้เกิดความชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลสถิติยังกระจัดกระจาย หรืออาจไม่มี ควรที่จะมีหน่วยงานกลางในการ
จัดเก็บหรือประสานงานบริหารข้อมูล
จากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปได้ดังนี้
หนึ่ง วิธีการก าหนดสาระแห่งสิทธิเป็นห้าด้านและแบ่งประเภทตัวชี้วัดเป็นสามประเภทมี
ความเหมาะสมแล้ว
สอง ควรมีการปรับตัวชี้วัดให้สะท้อนมิติของสิทธิด้านต่างๆให้ครอบคลุม และควรพัฒนา
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ให้สะท้อนถึงผลลัพธ์ ตัวชี้วัดกระบวนการควรเพิ่มการน าแผนและนโยบายไป
ใช้ และควรให้มีตัวชี้วัดที่เน้นคุณภาพของการน าไปใช้
สาม ควรพิจารณาเรื่องข้อมูลเชิงคุณภาพในการก าหนดตัวชี้วัดประกอบด้วย
สี่ ควรจัดล าดับความส าคัญของตัวชี้วัด (เช่น สอง หรือสามล าดับ)
ห้า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความห่วงกังวลถึงข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินตามตัวชี้วัดว่า อาจไม่มีการ
จัดเก็บหรือไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของข้อมูลโดยตรง
หก การจัดท าตัวชี้วัดจะช่วยเป็นกรอบการด าเนินงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนขึ้น
สอดคล้องกับสิทธิที่รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ