Page 84 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 84
72
1. ข้อมูลพร้อมใช้จากสถิติทั้งหลายที่มีอยู่
2. ข้อมูลขอให้มีการจัดเก็บ
3. ข้อมูลไม่มีต้องวิจัยเพิ่ม
เป็นหน้าที่ของส านักงาน กสม. มาดูว่าข้อมูลไหนพร้อมใช้ อยากขอให้จัดเก็บ หรือ
ต้องวิจัยเพิ่ม
- ควรมีการพิมพ์เผยแพร่ตัวชี้วัดและฝึกอบรมให้กับบุคลากรในหน่วยงานของรัฐที่
เกี่ยวข้อง
(โปรดดูรายละเอียดของการน าเสนอ ในภาคผนวกที่ 8)
ทั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้น าความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมการ
สัมมนา มาใช้ประโยชน์และปรับแก้ไขในรายงานการศึกษาฉบับสมบูณ์นี้แล้ว
3.4 การสัมภาษณ์เชิงลึก
จากการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่สอง (ดูหัวข้อ 3.3.2) ที่ประชุมฯ เสนอว่าควรมีการ
สอบถามความเห็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน ดังนั้น คณะผู้ศึกษาจึงได้ด าเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วน
โดยตรงกับตัวชี้วัด ทั้งผู้ที่เป็นผู้ปฏิบัติภาครัฐที่จะต้องถูกตรวจสอบโดยตัวชี้วัด และ กสม. ซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้
ตัวชี้วัดในการติดตามตรวจสอบ โดยได้สัมภาษณ์บุคคลดังต่อไปนี้
ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นางเบ็ญจพร ฉัตรกุล ณ อยุธยา รองผู้อ านวยการ ส านักงานสถิติแห่งชาติ
พลต ารวจโท อ านาจ อันอาตม์งาม ผู้บัญชาการส านักงานยุทธศาสตร์ต ารวจ ส านักงาน
ต ารวจแห่งชาติ
นายขรรค์ชัย คงเสน่ห์ ผู้อ านวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป ส านักบริหารกลาง ส านักงาน กสม.
นายกมล สวัสดิ์ชูแก้ว ผู้อ านวยการ ส านักแผนและยุทธศาสตร์ กระทรวงแรงงาน
ผู้อ านวยการ ส านักสวัสดิการสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(สอบถามทางจดหมาย)
ในการด าเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก คณะผู้ศึกษาได้ส่งค าถามล่วงหน้าให้ผู้ให้สัมภาษณ์
ประมาณสิบห้าวัน และได้สัมภาษณ์ด้วยวาจาโดยการนัดหมาย (ยกเว้น ส านักสวัสดิการสังคม ที่ไม่ได้สัมภาษณ์
ด้วยวาจา) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ได้มีเวลาเตรียมข้อมูลและหารือกับผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน ค าถามแบ่งเป็น
สามส่วน คือ
ส่วนที่หนึ่ง เป็นค าถามที่ต้องการค าตอบเกี่ยวกับความถูกต้องเหมาะสมของร่างตัวชี้วัดว่ามี
ความสัมพันธ์กับพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่ และเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหรือไม่