Page 91 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 91
79
ขั้นตอนที่สี่ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่สอง เพื่อพิจารณารายงานข้อเสนอตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
ที่ได้ปรับแก้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนหรือเป็นผู้ที่จะต้องจัดเก็บ
ข้อมูลโดยตรงเพื่อให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดตัวชี้วัดที่หน่วยงานของตนเกี่ยวข้อง (ดูหัวข้อ 3.3.2
ประกอบ)
ขั้นตอนที่ห้า เป็นการปรับแก้ครั้งที่สอง โดยเน้นที่คุณภาพของตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวิทยาการการ
วัดผล และพัฒนาตัวชี้วัดให้ตัวชี้วัดสะท้อนสิทธิด้านต่างๆ ตามที่ได้รับข้อคิดเห็นจากการสัมมนาครั้งที่สอง
หลังจากนั้นเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเปูาหมาย (ดูหัวข้อที่ 3.3.4 ประกอบ) ซึ่งเป็นการสอบถามความเห็น
ผู้ที่มีส่วนโดยตรงกับตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นหลังจากมีการปรับแก้ครั้งที่สอง ทั้งผู้ที่เป็นผู้ปฏิบัติภาครัฐที่จะต้องถูก
ตรวจสอบโดยตัวชี้วัด และ กสม. ซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้ตัวชี้วัดในการติดตามตรวจสอบ
ขั้นตอนที่หก เป็นการปรับแก้ตัวชี้วัดครั้งที่สาม ตามที่ได้รับความเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเมื่อสิ้นสุด
ขั้นตอนนี้ คณะผู้ศึกษาได้ร่างสุดท้ายเพื่อรับฟังความเห็นสาธารณะ และการวิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ
ขั้นตอนที่เจ็ด เป็นการรับฟังสาธารณะและการวิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสิทธิมนุษยชน และด้าน
การวัดผล (ดูหัวข้อ 3.3.3 ประกอบ) หลังจากได้รับฟังความเห็นและค าแนะน าจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แล้วจึง
มาปรับแก้ชุดตัวชี้วัด เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วจึงได้ชุดตัวชี้วัดชุดสุดท้าย ดังปรากฏในบทที่ห้า