Page 90 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 90
78
3.5 กระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัด
จากขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น สามารถเขียนเป็นแผนภูมิการด าเนินงานได้ดังนี้
แผนภูมิที่ 2 กระบวนการการด าเนินการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด
ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นการศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการด าเนินการวิจัยในการก าหนดตัวชี้วัดด้าน
สิทธิมนุษยชน รวมทั้งชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นทั้งตัวชี้วัดในเชิงโครงสร้าง (structural indicators)
ตัวชี้วัดกระบวนการ (process indicators) และตัวชี้วัดผลลัพธ์ (outcome indicators) รวมถึงการก าหนด
แหล่งที่มาและลักษณะของพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนก าหนดสาระแห่งสิทธิที่รับรองในปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศสองฉบับที่ถือว่าเป็นตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ขั้นตอนที่สอง คณะผู้ศึกษาได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่หนึ่งซึ่งเป็นการรับฟังความเห็นจาก
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคส่วนต่างๆ (ดูในหัวข้อที่ 3.3.1) โดยน าเสนอกรอบแนวคิดและขอบเขตของตัวชี้วัด
สิทธิมนุษยชน กรอบพันธกรณี และสาระแห่งสิทธิที่เป็นพื้นฐานในการก าหนดตัวชี้วัดขึ้น (ที่ได้จากการศึกษาใน
ขั้นที่หนึ่ง) การสัมมนาครั้งนี้ท าให้คณะผู้ศึกษาได้ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบพันธกรณีและปัญหาการด าเนินงานด้าน
สิทธิมนุษยชนในทางปฏิบัติอันจะช่วยในการพัฒนาตัวชี้วัดให้สะท้อนปัญหาอันเฉพาะของประเทศไทย และมี
มิติครอบคลุมสิทธิด้านต่างๆ
ขั้นตอนที่สาม เป็นการปรับแก้ตัวชี้วัดโดยการน าข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาครั้งที่หนึ่งมาประกอบกับ
การศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร ตราสารสิทธิมนุษยชน และแหล่งที่มาของปทัสถานของพันธกรณีตามปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตลอดจนประเด็นเฉพาะปัญหาสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (ดูในแผนภูมิที่ 1
ประกอบ) ประกอบกับใช้ตัวอย่างการจัดท าตัวชี้วัดของส านักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ และตัวอย่าง
ของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประกอบ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ คณะ
ผู้ศึกษาได้ร่างตัวชี้วัดร่างที่หนึ่ง ประกอบด้วยตัวชี้วัด หกด้าน (ต่อมาได้มีการปรับเหลือห้าด้านตาม
ข้อเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่สอง)