Page 422 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 422
344
รศ ดร.สมคิด พรมจุ้ย (ความเห็นเพิ่มเติมในการเสนอความเห็นรอบสอง)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการปฏิบัติ หน่วยงานใดน าไปใช้ควรจัดล าดับความส าคัญ
การรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
คุณวิสา เบ็ญจะมโน กรรมการสิทธิมนุษยนแห่งชาติ
ดิฉันมีข้อเสนอแนะ
1. ชื่อท ากรอบเฉพาะที่ศึกษา ICCPR และ ESCR ชื่อกรอบครอบคลุม แต่เนื้อหาไม่ครอบคลุม
2. ความเชื่อมโยงของเนื้อหาตามเจตนารมณ์ของปฏิญญา สื่อถึงสิ่งที่ควรวัดให้สอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ที่ก าหนดไว้ในแต่ละฉบับ เช่น ตัวชี้วัดในเรื่องของสตรีไปเกี่ยวข้องกับสิทธิพลเมือง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ยังไม่ครอบคลุมเพราะยังไม่มีอนุสัญญาเกี่ยวกับสตรี ตัวชี้วัดบางตัว
ต้องท าแบบสอบถามเพื่อให้ได้ค าตอบ ในการวัดความพึงพอใจ แค่ไหน อย่างไรต้องท า
แบบสอบถาม
ผศ.วิชัย ศรีรัตน์
เรื่องของกรอบที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาตัวชี้วัดคือ ICCPR และ ICESCR ผมอาจจะต้องเน้นให้
ชัดเจนขึ้น
คุณอัจฉรา ฉายากุล (ผู้ตรวจการสิทธิมนุษยชน ส านักงาน กสม.)
ขอบคุณอาจารย์และคณะผู้ศึกษาที่ได้ท างานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการหา
ผลงานวิจัยที่อิงหลักการไม่ค่อยมีในเรื่องของสิทธิมนุษยชน เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดสนใจแล้วอ่านเอกสารเหล่านี้
จะมีการปูพื้นฐานอย่างดีส าหรับบุคคลที่ท างานเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชน
ข้อเสนอแนะ
1. หน้า 3 การที่ไทยเป็นรัฐภาคี ควรเพิ่มการที่เป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศ (Optional
Protocol) ด้วย เพราะในตัวสาระของ Optional Protocol นั้นได้แยกจากตัวแม่บทในหลาย
เรื่อง
2. ส่วนเรื่องตัวค าผิดทั้งหลายนั้นไม่เป็นไร เพราะยังเป็น Draft อยู่
3. แนวคิดของ UDHR แล้วแตกเป็น ICCPR กับ ESCR เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการ
ต่อสู้ความคิดทางการเมือง เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุใน UDHR นั้นเป็นการประนีประนอมของโลก
ตะวันตกกับโลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น เพราะฉะนั้นในส่วนแรก จะเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง
สิทธิทางการเมือง ซึ่งกลุ่มตะวันตกให้ความสนใจ กับอีกส่วนจะเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม แล้วยังหาข้อตกลงไม่ได้ ในเมื่อมันเกิดในช่วงแรกๆ ยังไม่เป็นสถานะกฎหมายจารีต
ประเพณี (Customary Law) เพราะฉะนั้นสิ่งที่สหประชาชาติท าต่อก็คือว่า ท าอย่างไรจะสร้าง
Legal Obligations ดังนั้นจึงออกมากลายเป็นกติการะหว่างประเทศสองฉบับ แต่ในหน้า 16
เหมือนจะเขียนประมาณนี้ แต่อาจารย์เขียนตรงที่เหมือนกับการประนีประนอมไว้หลังเกิด UDHR
ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่มันเกิดตั้งแต่ร่าง UDHR แล้ว เมื่อผ่านมา 60 ปีสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
เปลี่ยน เพราะฉะนั้นมีหลายเรื่องที่เป็นสิทธิใหม่ๆ เกิดขึ้นมาใน UDHR กับ Optional 2 ฉบับ มี 2
generation คือยุคที่หนึ่ง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ยุคที่สอง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม แต่ในยุคที่สาม ในเรื่องของสิทธิใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิใน
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3