Page 425 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 425
347
ข้อ 5 ที่ว่าด้วยเรื่องของจ านวนคดีที่สตรีร้องเรียนว่าถูกท าร้ายร่างกาย ประเด็นนี้จะเป็นปัญหา
ค่อนข้างมาก อยากให้เทียบกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เช่น หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ศูนย์พึ่งได้จะมี
ข้อมูลจ านวนที่ค่อนข้างดีกว่าเมื่อเทียบกับจ านวนคดีใน พ.ศ. 2554 จะเห็นว่าที่ศูนย์พึ่งได้ ได้รับเรื่อง
ร้องเรียน 20,000 กว่ากรณี แต่เมื่อเทียบกับจ านวนคดีที่มีเข้าไปในชั้นพนักงานสอบสวนมีแค่หลักพัน ท าให้
เห็นภาพว่าเกิดช่องว่างที่เป็นปัญหาว่าท าไมผู้หญิงถึงไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ตรงนี้ขอให้
ปรับด้วย
ตัวชี้วัดในเรื่องของการได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ประเด็นนี้ในแง่ของเกณฑ์ตัวชี้วัดการท างานตอนนี้มีเรื่องการขับเคลื่อนให้มีกฎหมายที่ดูแลเรื่องประเด็นของ
การเลือกปฏิบัติโดยตรง ในฐานะที่เป็นกรรมการปรับปรุงกฎหมายความเสมอภาคระหว่างเพศ ใน
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย มีการผลักดันในเรื่องของการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ
ซึ่งจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเห็นว่ามีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
คนพิการ หรือว่ากลุ่มรักร่วมเพศซึ่งก าลังผลักดันเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายนี้เช่นเดียวกัน อาจจะเป็นเกณฑ์ชี้วัด
ตัวหนึ่งเหมือนกัน แต่ว่าควรจะมีกฎหมายเฉพาะดูแลในเรื่องของการเลือกปฏิบัติโดยตรง นอกเหนือจากการ
แค่รับเรื่องราว หรือว่าจ านวนข้อกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงที่จะไปออกในกฎหมายระดับรอง ขอให้เพิ่ม
ในส่วนนี้ด้วย
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิการเข้าถึง เรื่องของการส่งเสริมและคุ้มครองสตรี
ในภาวะการตั้งครรภ์ 5.3การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือในเด็กที่ท้องไม่พร้อม สามารถจะไปอยู่ในส่วนไหนได้
เกณฑ์ชี้วัดในเรื่องของการศึกษา กล่าวถึงเรื่องการศึกษาในระบบคิดว่าควรจะมีตัวชี้วัดในเรื่องของ
การศึกษา ที่มีการศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตลอดชีวิตหรือไม่ คิดว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ เพราะว่า
การศึกษาไทยไม่ได้เข้าไปดูแลคนทุกวัยอย่างแท้จริง
ผศ.วิชัย ศรีรัตน์
ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงสตรีซึ่งเป็นความยากล าบากของคณะผู้ศึกษาชุดนี้ ในค าถามว่าท าไมจ านวนสตรีส่วน
ที่อยู่ในภาคต่างๆ ตุลาการ บริหาร และนิติบัญญัติ สัดส่วนถึงไปอยู่ในชี้วัดผล เพราะว่าใช้ตัวชี้วัดในเรื่องของ
การมีส่วนร่วมในการก าหนด ดังนั้นการมีส่วนร่วมจะต้องวัดว่าสตรีเข้ามามีส่วนร่วมเท่าไหร่ และไม่ถูกเลือก
ปฏิบัติอย่างไร ตัวชี้วัดส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติ เพื่อที่จะให้เห็นว่าเป็นผลมาจากการไม่ได้รับการ
เลือกปฏิบัติ หรือกรณีคดีร้องเรียนท าไมถึงไปอยู่ในเรื่องความปลอดภัย ท าไมไม่ไปอยู่ในเรื่องของสิทธิโดยตรง
ผมอ่านสาระแห่งสิทธิ แล้วต้องการให้เก็บข้อมูลแยกสัดส่วน รวมทั้งแยกประเภทเด็ก สตรี ชนกลุ่มน้อย
หรือแรงงานต่างด้าว เพราะฉะนั้นจึงปรากฏจ านวนสตรี ตรงนี้อาจจะข้ามไปก็ได้เพราะเราจะต้องท าตัวชี้วัด
ในเรื่องของสตรี แต่ที่มาอยู่ตรงนี้ เพราะเป็นเรื่องของสิทธิในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตร่างกาย แต่
ต้องการชี้ให้เห็นว่าท าไมสัดส่วนผู้หญิง ผู้ชาย เพราะผู้หญิงอาจจะเสี่ยงกว่า เพื่อจะน าไปสู่การแก้ไขนโยบาย
อาจต้องมีต ารวจผู้หญิง หรือมาตรการพิเศษคุ้มครองสตรีในเครื่องความปลอดภัย คงจะอธิบายได้
ค าว่ารังควานทางเพศ มาจากค าว่า sexual harassment ซึ่งควรใช้คุกคามทางเพศมากกว่า
คุณพวงแก้ว กิจธรรม (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย)
ขอสนับสนุนในเรื่องของการสังเกตในเรื่องที่ว่าการก าหนดตัวชี้วัดโดยหลักการจะท าได้จริงหรือไม่
ประสบการณ์ในการรวบรวมข้อมูลของคนพิการ จะพบว่าประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องข้อมูลมาก มีทั้งที่
ท างานแล้วไม่มีข้อมูล หรือมีข้อมูลน้อยมาก หรือมีข้อมูลไม่ตรง ไม่สอดคล้องกับอะไรเลยก็จะน ามาใช้ไม่ได้
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3