Page 426 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 426
348
ในการท ารายงานฉบับนี้คณะท างานจะสามารถท าเป็นข้อเสนอ เพื่อที่จะแจ้งหน่วยงานในการที่จะจัดท า
ฐานข้อมูล เพื่อที่ว่าในคราวต่อไปจะท ารายงานอีกจะได้มีข้อมูลอยู่
ในการท ารายงานนี้จะมีส่วนที่เป็นข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างเครือข่ายคนพิการ
เครือข่ายต่างๆ ที่จะน าไปขับเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นด้านของนโยบาย การปฏิบัติ หรือนิติบัญญัติ จากรายงานนี้
จะมองออกและน าไปสู่ข้อเสนอแนะเหล่านี้ได้แค่ไหน
คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
ข้อเสนอประการแรกเรื่องถ้อยค า เสนอให้ทางที่ปรึกษาไปดูจากตัวบทที่กระทรวงการต่างประเทศได้
แปล ใช้ให้เหมือนกันจะได้มีความสอดคล้องกับสนธิสัญญาที่มีการแปลไว้ อย่างเช่น สิทธิทางมโนธรรม สิทธิ
ที่ได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ไม่แพง นั้นไม่มีในตัวบทของกระทรวงการต่างประเทศ
ประการที่สอง ตัวชี้วัดที่ก าหนดเรื่องของปริมาณต่างๆ เห็นด้วยที่บางเรื่องไม่ต้องก าหนดไว้ อย่างเช่น
ในเรื่องของกระบวนการยุติธรรมมีการก าหนดถึงจ านวนคดี หน้า 127 ก าหนดตัวชี้วัดผลที่มีจ านวนคดีที่
สื่อมวลชนมีการรายงานในการแถลงข่าวว่าบุคคลนั้นได้กระท าความผิด หรือจ านวนคดีที่สื่อมวลชนรายงาน
ว่าผู้ต้องหาถูกท าร้ายในตอนท าแผนประกอบอาชญากรรม สองตัวนี้น ามาเป็นตัวชี้วัดล าบากในเรื่องของการ
ด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน และล าบากกับ กสม. ที่ต้องเก็บข้อมูลตรงนี้มาก ตัวชี้วัดด้านปริมาณไม่
สามารถวัดประสิทธิภาพของการท างานได้จริง อยากให้พิจารณา
อาจารย์ สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์
จริงๆ แล้ว ข้อมูล กสม. ไม่ได้จัดท า แต่เป็นผู้รวบรวม รัฐจะเป็นผู้หาข้อมูลและรายงานว่าเป็น
พันธกรณีที่รัฐจะต้องท ารายงาน เพราะฉะนั้นไม่ต้องค านึงถึงว่าข้อมูลหายากหรือหาง่าย เพราะว่า กสม.
ไม่ได้เป็นผู้หา เพื่อให้เข้าใจความรับผิดชอบของรัฐเป็นผู้หาข้อมูลและรายงาน
ข้อเท็จจริงจ าเป็นต้องหามาสามส่วน คือ มีระบบจดทะเบียนการให้บริการทุกกรณี จะได้ตัวเลข
แน่นอน ถ้าเป็นจ านวนคดี ให้ไปดูคดีด าที่สถานีต ารวจ ไปร้องทุกข์ ไปแจ้งความ มีสถาบันหรือองค์กรที่ไป
รวบรวมการร้องทุกข์ว่ามีกี่กรณี มีท าเป็นคดีด าคือรับท าเป็นคดีกี่คดี ซึ่งโยงไปถึงเรื่องการใช้ความรุนแรงใน
ครอบครัว กรณีผู้หญิงไปแจ้งเจ้าหน้าที่ต ารวจถูกสามีซ้อมไม่มีการบันทึกเป็นคดี ตรงนี้เป็นสิ่งที่รัฐควร
ปรับปรุงแก้ไข กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัว ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปลงโทษผู้กระท า
ความผิด แต่ต้องการแก้ปัญหาครอบครัว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ต ารวจโดยภารกิจเป็นภารกิจปราบปราม
อย่างเดียว ภาระในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในครอบครัวไม่ได้ต้องแก้เอง แต่มีส่วนร่วมในการ
เปิดประตูให้คนอื่นเข้าไปแก้ ต ารวจไม่ท าเพราะว่าไม่สามารถไปประเมินความดีความชอบการท าคดีการใช้
ความรุนแรงในครอบครัว ถ้าส าเร็จส่วนใหญ่จะต้องไม่ท าเป็นส านวนคดีไปถึงอัยการ แต่การประเมิน
พนักงานสอบสวนขณะนี้ก็ยังใช้วิธีเดิมไปประเมินจ านวนคดีที่ท าส านวนถึงอัยการ
อีกกรณีที่รัฐจะต้องท าคือในตัวเลขทั้งหมดต้องท าวิจัย อย่างรัฐบาลของสหราชอาณาจักรท าวิจัยเด็ก
ที่ต้องการการบริการจากรัฐมีจ านวนเท่าไหร่ เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงในการรับอันตรายมีอยู่เท่าไหร่ ต้องท า
วิจัยมาประกอบกับระบบการขึ้นทะเบียน รวมทั้งระบบ monitor คือมีพยาบาลเยี่ยมบ้าน ท าให้ได้
ฐานข้อมูล
ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เห็นว่าข้อมูลจะมี 3 ระดับ คือ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3