Page 427 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 427
349
1. ข้อมูลพร้อมใช้จากสถิติทั้งหลายที่มีอยู่
2. ข้อมูลขอให้มีการจัดเก็บ
3. ข้อมูลไม่มีต้องวิจัยเพิ่ม
ฉะนั้นต้องเป็นหน้าที่ของส านักงาน กสม. มาดูว่าข้อมูลไหนพร้อมใช้ อยากขอให้จัดเก็บ หรือต้องวิจัยเพิ่ม
ผศ.วิชัย ศรีรัตน์
เรื่องข้อมูลเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราต้องการสะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐ เพราะฉะนั้นก าหนดตัวชี้วัดมา
เพื่อให้สะท้อนหน้าที่ ถ้าไม่มีข้อมูลคงจะต้องหาวิธีการเพื่อให้มีขึ้น ถ้าหากยังไม่มีในทางสถิติหลักการท า
ตัวชี้วัดใช้ข้อมูลอื่นๆ ที่มีอยู่ประกอบเพื่อจะตัดสิน คิดว่าคงไม่มีข้อมูลของต ารวจ อย่างเช่น ข้อมูลอุ้มหาย
ข้อมูลการทรมาน ต้องเอาข้อมูลที่ปรากฏในสื่อ หรือข้อมูลของญาติบุคคลที่ถูกอุ้มหายมาร้องเรียน หรือเป็น
ข้อมูลตามความเป็นจริง ที่เรียกว่าเป็น fact based data นอกจากนั้น ข้อมูลบางอย่างถ้าหากจะขอข้อมูล
จากส านักงานสถิติแห่งชาติ กสม. สามารถที่จะก าหนดได้เลย เพราะฉะนั้นยังไม่มีตอนนี้ ต้องออกแบบเก็บ
ข้อมูล เป็นหน้าที่ที่จะต้องท าตรงนี้ คงให้ความชัดเจนได้
อาจารย์กิตติ ชยางคกุล (คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทอร์นเอเชีย)
มีข้อสงสัยในตัวชี้วัดที่ 3.3 UDHR ข้อ 10 ข้อ 11 เรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เรื่องของข้อ
สันนิษฐานว่าจ าเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา ตัวเกณฑ์ชี้วัดในสองข้อนี้ได้พุ่งเป้าไปที่ข้อสันนิษฐานของ
ผู้บริสุทธิ์กับเรื่องของการประกันตัว ถ้ามองในเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอีกตัวคือเรื่องของการ
จัดหา อย่างเช่นการจัดหาทนายให้กับจ าเลยในคดีอาญา เป็นสิทธิตัวหนึ่งของจ าเลยในคดีอาญา ซึ่งไม่แน่ใจ
ว่าใน 3 ตัวนี้ได้ครอบคลุมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของจ าเลยในคดีอาญาเพียงพอหรือไม่
ถ้าลองดู ตัวชี้วัดของบางที่ ตัวเลขที่เป็นเชิงปริมาณในบางแหล่งยังคงให้ความส าคัญอยู่ เคยเห็น
Indicator ตัวหนึ่ง ที่ใช้วัดแต่ไม่ได้มองเฉพาะให้ลงไปถึงภาคปฏิบัติมากกว่าในเชิงนโยบาย มีเรื่องของการ
จัดสรรงบประมาณให้ ตัวชี้วัดการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย งบประมาณให้กระทรวง
ยุติธรรม กระทรวงคุ้มครองสิทธิจะเห็นเป็นก้อนใหญ่ หรือส่งไปทางเนติบัณฑิต หรือสภาทนายความเราจะ
ไม่เห็นตัวพวกนี้ แต่ว่าในระบบหรือในต่างประเทศยังน าตัวเลขนี้ไปเป็นตัวชี้วัดด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องของ
จ านวนผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความของในแต่ละประเทศ อาจจะไม่ได้ชี้วัดเป็นเชิงคุณภาพ แต่เป็น
ข้อมูลเบื้องต้นที่จะท าให้มองเห็นว่าอาจจะเกิดปัญหาขึ้น อย่างเช่น ประเทศไทยถ้าเทียบในอาเซียนจ านวน
ทนายความเทียบสัดส่วนกับประชากรสูงกว่าประเทศอื่นมาก แต่ตัวเลขของจ านวนทนายความไม่สะท้อน
ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะทนายอาสาในคดีอาญา คนที่ถูกมอบหมายโดยศาลกลับกลายเป็นทนายความ
ใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ แต่ต้องรับภาระสูงในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา เป็นประเด็นที่
สะท้อนขึ้นมาจากผู้ปฏิบัติ
คุณสุวรีย์ ใจหาญ (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)
ขอขอบคุณ กสม. ที่ให้โอกาสได้เข้าใจในเรื่องของที่ไปที่มาของการก าหนดตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน
ปัญหาการเก็บข้อมูลภาครัฐที่น ามาใช้ในการรายงานของภาครัฐไม่ตอบโจทย์ มีการเก็บข้อมูลไว้มาก แต่อาจ
น ามาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการรายงานได้ไม่หมด และปัญหาในประเด็นท างานแล้วเกิดประสิทธิผล
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3