Page 417 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 417
339
ข้อ 3 ช่อง C หน้า 105 จ านวนร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอต่อรัฐสภาได้รับความเห็นชอบจาก
รัฐสภา ในความเป็นจริงถ้าคงตัวชี้วัดนี้ไว้จะตก เพราะยากที่ประชาชนจะเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา เท่าที่ดูไม่
มีประชาชนสามารถเสนอกฎหมายผ่านสภาได้ เพราะว่ากระบวนการล่ารายชื่อหมื่นรายชื่อ ระยะเวลาในการ
ตรวจสอบหลักฐานประกอบใช้เวลามาก ตัวชี้วัดลักษณะนี้ต้องทบทวนว่าจะใช้ตัวนี้เป็นตัววัดได้หรือไม่
เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก เป็นสิ่งที่ดีถ้าประชาชนรวมตัวกันเสนอ
กฎหมาย และรัฐธรรมนูญก็ให้อ านาจตรงนี้ไว้
ตัวชี้วัด ในหน้า 106 เป็นตัวชี้วัดที่ดี อย่างเช่น การมีองค์กรก ากับควบคุมพรรคการเมือง (B) ไม่
แน่ใจว่า ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีกลไกก ากับตรงนี้หรือไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของ กกต.
โดยตรง
หน้า 109 C ข้อ 2 จ านวนผู้เสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวโดยอาศัยอ านาจตามกฎหมายของ
เจ้าพนักงานในคดีที่ศาลรับไว้พิจารณา ค าถามที่ตั้งเกณฑ์ไว้ว่าจะหาข้อมูลมาได้อย่างไร
หน้า 111 C จ านวนบุคคลที่ถูกท าให้หายตัวไปโดยการใช้ก าลังบังคับ ข้อมูลแบบนี้หาไม่ได้ เมื่อตั้ง
เป็นตัวชี้วัดแล้วไม่สามารถหาค าตอบได้ก็ไม่มีประโยชน์ กระบวนการทรมานหรือกระบวนการบีบบังคับ
ท าให้คนรับสารภาพนั้นเป็นปัญหามานานและอยู่ในพื้นที่ที่เราเข้าไปไม่ถึง ถ้าคงตัวชี้วัดนี้ต้องมั่นใจว่า
สามารถหาข้อมูลมาตอบตัวชี้วัดนี้ได้
หน้า 111 ข้อ 5 ความพึงพอใจในการชดใช้ค่าทดแทนจากการถูกบังคับให้สูญหาย กับหน้า 113 มี
ลักษณะตัวชี้วัดที่คล้ายกัน ความพึงพอใจของญาติผู้เสียชีวิตจากการจลาจลขัดแย้งและการสู้รบด้วยอาวุธ
หน้า 111ความพึงพอใจในการชดใช้ค่าทดแทนจากการถูกบังคับให้สูญหาย เป็นลักษณะตัวชี้วัดที่ขึ้นอยู่กับ
ความรู้สึก ความพึงพอใจ แต่มีความชัดเจนว่ามาจากการชดใช้ค่าทดแทนจากการถูกบังคับให้สูญหาย
ส าหรับหน้า 113 อาจารย์อาจตกประเด็นว่าเป็นความพึงพอใจอะไร ในเรื่องอะไร เขียนไว้ลอยๆ ความ
พึงพอใจของญาติผู้เสียชีวิตจากการจลาจลขัดแย้งและการสู้รบด้วยอาวุธ อาจจะต้องระบุความพึงพอใจที่
ได้รับการชดเชยจากการเสียหายอะไร ถ้าเขียนกว้างก็ไม่รู้ว่าจะวัดอะไร
หน้า 118 ในข้อที่ 4 จ านวนคดีที่สตรีร้องเรียนจากการคุกคามหรือรังควานทางเพศในที่ท างาน มี
การแยกสถานที่ภาครัฐ ภาคเอกชน เป็นตัวชี้วัดที่ดี เป็นเรื่องของการดูว่าสตรีได้รับการคุ้มครองสิทธิจากการ
ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือไม่ อย่างไร ค าถาม ต้องยอมรับความจริงว่าเรื่องของการคุกคามทางเพศมีอยู่มาก
ถ้าเราบอกว่าจ านวนที่มีเรื่องเกิดขึ้นแต่ไม่มีการร้องเรียน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นจ านวนที่ออกมาจาก
การที่เราไปรับรู้ แต่ไม่ได้สะท้อนจากความเป็นจริง จะปรับจะวัดในเรื่องนี้อย่างไร ไม่ได้วัดกันที่จ านวน
ความจริงยังพบว่ามีการถูกละเมิดจ านวนมาก แต่ไม่มีการร้องเรียน ถ้าจ านวนออกมาน้อยแปลว่าสตรีไม่ได้
รับการคุ้มครองที่ดีก็ไม่ใช่
อาจารย์ต้องทบทวนการก าหนดตัวชี้วัดที่ดีจะก าหนดอย่างไร อาจารย์สมคิดช่วยได้ จะเน้นสอง
ประเด็นคือ วัดได้จริงหรือไม่ และสามารถหาข้อมูลเพื่อมาตอบตัวชี้วัดนั้นได้หรือไม่ ข้อสังเกตเพิ่มเติม อาจ
ลืมคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความส าคัญ ในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิพลเมือง คนพิการ ไม่มีตัวชี้วัดไปสัมผัสคนกลุ่ม
นี้ ซึ่งไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาคนพิการและได้รับรองสิทธิของคนพิการ
รศ ดร.สมคิด พรมจุ้ย
ขอบคุณส านักงาน กสม. และคณะผู้ศึกษา และชื่นชมอาจารย์วิชัยที่ได้มีความพยายาม มีโอกาสได้
อ่านเล่มสมบรูณ์เมื่อวาน ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลตลอดตั้งแต่การติดต่อให้มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ถือว่าเป็น
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3