Page 357 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 357

279


                   ค่อนข้างจะมโหฬารในขณะที่มีการโค่นล้มเผด็จการมาร์คอสลงไป เมื่อ ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) หลังจากมี
                   การโกงการเลือกตั้งครั้งมโหฬาร

                         ในที่สุดประธานาธิบดีคอราซอน อากีโน ก็ขึ้นมาเป็นผู้นําประเทศในระยะนั้น จากนั้นก็มีการจัดตั้ง
                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนภายใต้การดูแลของประธานาธิบดี (Presidential  Human  Rights
                   Commission)  ขึ้นมาเป็นครั้งแรก หลังจากที่นางคอราซอน อากีโน เข้ามาสู่ตําแหน่งใน ค.ศ. 1986 (พ.ศ.
                   2529) จากนั้นหนึ่งปีก็มีการยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขขึ้นมา ฉบับใหม่เมื่อ ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) มีการระบุ

                   ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (CHRP) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นตั้งแต่นั้น
                   เป็นต้นมา ในฟิลิปปินส์มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2  ชุดด้วยกัน ชุดหนึ่งอยู่ภายใต้อํานาจการ
                   บริหารของประธานาธิบดี อีกชุดหนึ่งคือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นองค์กรอิสระ ทํางาน

                   เทียบเคียงและควบคู่กันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะแตกต่างกับกรณีของประเทศไทย ซึ่งไม่แน่ใจว่าต่อไปจะ
                   มีการจัดตั้งในส่วนภาครัฐโดยตรงขึ้นมาเองภายใต้รัฐบาลหรืออย่างไรก็แล้วแต่ เนื่องจาก กสม. ของเราเป็น
                   องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และมีพระราชบัญญัติรองรับใน พ.ศ. 2542
                         ตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530)  รัฐธรรมนูญได้ให้อํานาจแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                   แห่งชาติฟิลิปปินส์ (กสมฟ.) ในการติดตาม ตรวจสอบ แก้ไข เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิ

                   มนุษยชน ช่วงที่อยู่ภายใต้ระบอบมาร์คอสระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 (พ.ศ.
                   2515)  เป็นต้นมา เป็นระยะเวลาราว 16  ปีถึง  18  ปี  ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างจะมากมาย
                   เพราะฉะนั้นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเลยได้รับมอบหมายภารกิจดังกล่าว

                         นอกจากนี้เหตุการณ์ต่อมาก็คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญในระบบสิทธิมนุษยชนกับนานาชาติ เมื่อมี
                   การประชุมสัมมนาสิทธิมนุษยชนระดับโลก ที่กรุงเวียนนา เมื่อปี พ.ศ. 2536  ซึ่งตรงนั้นก็เป็นจุดปรับเปลี่ยน
                   ที่สําคัญของกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  ที่มีการเน้นย้ําในเรื่องของความเป็นสากลของสิทธิ
                   มนุษยชน เรื่องของความสัมพันธภาพ ความเกี่ยวพันระหว่างสิทธิกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิด้านเศรษฐกิจ

                   สังคม วัฒนธรรม การเมือง พลเมือง และการพัฒนา ซึ่งเมื่อครู่ก่อนหน้านี้ท่านอาจารย์อมราได้เปรยให้เราฟัง
                   ว่าปฏิญญาสากลนั้นออกลูกมาสองคนฝาแฝด แต่แฝดคนละฝา ก็คือฉบับที่ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                   ทางการเมือง และอีกฉบับหนึ่งก็คือสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ไปที่มาก็มีผลอยู่ว่าไม่สามารถ
                   ออมชอมกันได้ในเวทีระหว่างประเทศ ก็เลยต้องแปลงมาเป็นกติการะหว่างประเทศ 2  ฉบับ ซึ่งมีพันธกรณี

                   ผูกพันต่อภาคีสมาชิกสหประชาชาติ ในขณะที่ก่อนหน้านี้ปฏิญญาสากลไม่ได้มีผลบังคับให้ภาคีสมาชิกของ
                   สหประชาชาติจะต้องปฏิบัติตาม แต่อย่างไรก็ตาม   69    ปี ที่ผ่านมาก็เป็นตัวชี้วัดที่สําคัญว่าจริงๆ แล้ว
                   ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก็กลายมาเป็นกฎหมายจารีตประเพณีซึ่งเป็นอนุสัญญาซึ่งถือว่าเป็น
                   ข้อตกลงระหว่างประเทศที่หลายๆ ประเทศได้นํามาปฏิบัติใช้ และประยุกต์ใช้เข้ากับกฎหมายภายในประเทศ

                   ของตน ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญก็ดี หรือว่ากฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ ก็ดี
                         ประเด็นที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ เมือปี ค.ศ. 1994  (พ.ศ. 2537) มีเหตุกรณีที่ กสมฟ. ได้เข้าไป
                   ตรวจสอบกรณีของภาคเอกชนที่ดูเหมือนจะมีการล่วงล้ําละเมิดทางด้านสิทธิเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                   เรื่องนี้ก็กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาครั้งหนึ่งในประสบการณ์แห่งฟิลิปปินส์ เพราะเรื่องนี้เข้าไปสู่ศาล
                   ฎีกา แล้วศาลฎีกาชี้ว่า กสมฟ. มีอํานาจในการตรวจสอบเฉพาะมิติทางด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
                   เมืองเท่านั้น ตามรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1987  (พ.ศ. 2530)  ซึ่งอาศัยการตีความ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก
                   พอสมควร ทั้งๆ ที่ว่าฟิลิปปินส์เองก็ให้สัตยาบันกับกติการะหว่างประเทศอีกฉบับหนึ่งคือ ICESCR หรือสิทธิ
                   ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตั้งแต่ ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง

                   สองสิทธิ ที่ตรงนี้เองก็นํามาสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ครั้งใหญ่ของ กสมฟ. แล้วนํามาสู่การพยายามที่

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362