Page 361 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 361
283
ข้อมูลทั่วไป
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของสเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุุน (ในช่วงสั้นๆ)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เคยเป็นหนึ่งในประเทศหน้าด่าน (ปูอมปราการ ทางภูมิรัฐศาสตร์) ในภาคพื้น
แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกามาก่อน โดยมีทั้งฐานทัพอากาศ ฐานทัพเรือของมหาอํานาจ ภายใต้
สนธิสัญญาทางการทหาร
เคยอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการอํานาจนิยมของมาร์คอส ระหว่าง ค.ศ. 1972-1986 (พ.ศ. 2515-
2529)
การเลือกตั้งทั่วไป (ครั้งแรก ๆ หลังการประกาศกฎอัยการศึก ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515)) เมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) มีการโกงการเลือกตั้งครั้งมโหฬาร ประชาชนไม่พอใจ ลุกขึ้น
ประท้วง เดินขบวนสู่ถนน EDSA จนเกิดปรากฏการณ์ People Power ในที่สุดโค่นล้มเผด็จการ
มาร์คอสลงได้ด้วยสันติวิธี
คู่แข่งคนสําคัญของมาร์กอสในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนั้น นางคอราซอน อากีโน (ภรรยา
ม่ายของอดีตวุฒิสมาชิกนักการเมืองฝุายประชาธิปไตยคนสําคัญที่ถูกลอบสังหารที่สนามบินกรุง
มะนิลา เมื่อกลับจากการลี้ภัยต่างประเทศมายาวนาน)
นางคอราซอน อากีโน ก้าวขึ้นสู่ตําแหน่งประธานาธิบดี เมื่อ ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529)
เพื่อเป็นการฟื้นฟูประเทศและสังคม จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนภายใต้การดูแลของ
ประธานาธิบดี (Presidential Human Rights Commission) ขึ้นเป็นครั้งแรก
มีการยกร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย เมื่อ ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529)
รัฐธรรมนูญระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (CHRP) ขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1987
(พ.ศ. 2530)
ตาม รธน. ฉบับ ค.ศ .1987 (พ.ศ. 2530) ให้อํานาจแก่ กสมฟ. ในการตรวจสอบ แก้ไข เยียวยา
กรณีนักโทษทางการเมือง และผู้ที่ถูกรัฐบาลปราบปราม จับกุม คุมขังโดยมิชอบ ตลอดจน
ผู้ถูกกระทําการทรมาน และอุ้มหายระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 (พ.ศ.
2515) เป็นต้นมา
การประชุมสิทธิมนุษยชนระดับโลก ที่กรุงเวียนนา ย้ําถึงความเป็นสากล การแบ่งแยกไม่ได้ของสิทธิ
และความสัมพันธภาพของสิทธิมนุษยชน ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง พลเมือง และ
การพัฒนา และยังได้รับรองปฏิญญาและแผนสิทธิมนุษยชนกรุงเวียนนา เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.
1993 (พ.ศ. 2536)
ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) เกิดคดีความฟูองร้องโดยภาคเอกชน ว่า กสมฟ. มีอํานาจในการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วยหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาชี้ว่า รธน. ได้ให้อํานาจ
ในการตรวจสอบสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง แต่ไม่ได้ระบุสิทธิกลุ่มอื่น แม้ว่ารัฐบาล
ฟิลิปปินส์ จะได้ให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศ ICESCR เมื่อ ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) แล้วก็ตาม
นี่คือจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญ นํามาสู่การผลักดันให้ปรับแก้ รธน. และจัดวางยุทธศาสตร์ครั้งใหม่
นับแต่นั้น กสมฟ. จึงได้ทํางานกับรัฐสภามากขึ้น โดยตั้งเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพของ จนท.
รัฐสภาที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยยกร่างกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ก็กระชับความร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการเสริมสร้างศักยภาพด้าน
สิทธิมนุษยชน
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2