Page 356 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 356
278
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จึงคิดว่าใช้เวลาในช่วงสั้นๆ ในการเปิดประเด็น คงไม่ได้พูดอะไรยากๆอย่างที่ ผศ. วิชัย
กล่าวไว้เมื่อสักครู่นี้นะครับ
เรื่องของคํานิยาม เรื่องของตัวชี้วัด สิทธิต่างๆ ประเด็นที่สําคัญอันหนึ่งนะครับก็อาจจะมีการตั้ง
คําถามว่า ทําไม เลือกสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ? จริงๆ แล้วทางคณะผู้ศึกษาได้มีการหารือกับ กสม. คิดว่า
จําเป็นที่จะต้องมีกรณีศึกษาจากประเทศอื่นๆ มาเทียบเคียง โดยที่จะเลือกประเทศในภูมิภาคเอเชียประเทศ
หนึ่ง แล้วประเทศที่อยู่ในภูมิภาคยุโรปประเทศหนึ่ง และทางประเทศในภูมิภาคที่กําลังพัฒนาประเทศหนึ่ง
คือในกรณีของภูมิภาคเอเชียเราก็เลือกกรณีของฟิลิปปินส์ขึ้นมา จริงๆ แล้วก็มีตัวเลือก อยู่ 2-3 ประเทศ ก็
คือ อินเดีย เกาหลีใต้ หรืออินโดนีเซีย แต่ว่าหลังจากการติดตามตรวจสอบและศึกษาข้อมูลไปได้ระดับหนึ่ง
เราคิดว่ากรณีของฟิลิปปินส์น่าจะใกล้เคียงกับเรามากที่สุด ในการที่จะมาปรับใช้ ขณะที่ว่าข้อจํากัดของ
อินเดีย ถึงแม้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมายาวนาน แต่ว่าเขามีการแบ่งเป็นมณฑล เป็นรัฐ
ทําให้การติดตามข้อมูลโดยภาพรวมของอินเดียจะมีความซับซ้อนมากกว่าเรา รวมทั้งประชากรในอินเดีย
7,000 ล้านคน คิดว่าการทํางานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนก็อาจจะมีความแตกต่างจากเราอีก
หลายๆ มิติ กรณีของเกาหลีใต้ถึงแม้จะมีการตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขึ้นมาพร้อมๆ กับเราเมื่อ 10 ปี
ก่อน แต่ว่าก็ยังติดขัดประเด็นปัญหาเรื่องข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งถ้าเรารู้จักภาษาเกาหลีใต้ก็คงจะง่าย
ขึ้นนี่คือเป็นข้อจํากัด เช่นเดียวกันกับอินโดนียเซีย
ดังนั้นเราจึงเลือกกรณีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกับเรา มีระดับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมใกล้เคียงกับ
เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ.
2530) มีมาแล้วประมาณ 25 ปี ก็จะแก่กว่าเราสักประมาณ 15 ปี นอกจากนี้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ยังได้ให้
สัตยาบันกับกติกา อนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนต่างๆ เกือบทุกฉบับ ใกล้เคียงกับ
ประเทศไทย สิ่งที่ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันมากกว่าเราก็คือ พิธีสารเลือกรับว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 1 คือฉบับที่ว่าด้วยการเปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลสามารถยื่น
ข้อร้องเรียนได้โดยตรงต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจํากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 2 ว่าด้วยการยกเลิกโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังมากกว่าเราตรงที่เขา
ให้สัตยาบันในเรื่องของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งครอบคลุมกว่าในขณะที่ประเทศไทยอยู่
ระหว่างการพิจารณา เพราะฉะนั้นเขาจะมากกว่าเรา 3 อนุสัญญาด้วยกัน นอกจากนี้เรื่องความคืบหน้า
ต่างๆ ในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนสําหรับกรณีฟิลิปปินส์มีพอสมควร อาจจะยังไม่สําเร็จเต็ม
รูปแบบ 100% คิดว่าเขาก็มีความก้าวหน้าพอสมควร ขณะเดียวกันเรื่องข้อมูลเราก็สามารถหาได้ในข้อมูล
ต่างๆ จากเครือข่ายของเรา
ถ้าให้ข้อมูลทั่วไปเพิ่มเติมนิดหนึ่ง จริงๆ แล้วฟิลิปปินส์ก็เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมสเปน สหรัฐอเมริกา
และญี่ปุุน มาก่อน ซึ่งตรงนี้ก็อาจเป็นข้อมูลปูมหลังบางประการ/เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่เรียกว่าหน้าด่าน
หรือปูอมปราการในภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกามาก่อน ที่เรียกว่ายุคสงครามเย็นโดยมีทั้งฐานทัพ
อากาศ ฐานทัพเรือของมหาอํานาจ คล้ายๆ ในกรณีของไทยช่วงสงครามเย็นที่มีฐานทัพบินอู่ตะเภา แล้วก็ที่
ตาคลี ตรงนั้นก็มีความใกล้เคียงในเชิงของภูมิรัฐศาสตร์ ภายใต้สนธิสัญญาทางการทหาร/เคยอยู่ภายใต้
ระบอบเผด็จการอํานาจนิยมของมาร์คอส ระหว่าง ค.ศ. 1972-1986 (พ.ศ. 2515-2529) เป็นระยะเวลา 10
กว่าปี ซึ่งเทียบเคียงกับยุคสมัยใดของไทยท่านก็คงจะทราบดี ขณะเดียวกันกระแสในภูมิภาคก็ส่งผลให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในเรื่องความตื่นตัว ในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น ที่จริงแล้วจุด
เปลี่ยนแปลงที่สําคัญก็คืออยู่ที่ช่วงประมาณ ค.ศ. 1984 - 1986 (พ.ศ. 2527-2529) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2