Page 359 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 359
281
สิทธิมนุษยชนอย่างรับผิดชอบ ไม่ใช่ว่าสิทธิมนุษยชนอะไรก็ได้ ตราบใดที่การใช้สิทธิมนุษยชนของเราจะไป
ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นก็ไม่สามารถกระทําได้ นี่คือตัวชี้วัดโดยทั่วๆ ไปที่มีการหยิบยกขึ้นมา คิดว่าคงจะไม่
ลงในรายละเอียด เพราะว่าเอกสารอยู่ในมือท่านแล้ว
จริงๆ แล้วเรื่องของกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ในสหประชาชาติ ซึ่งเข้าใจว่าทุกๆ ท่านควรจะทราบดี
ว่าในการรายงานต่อระบบสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศภายใต้กรอบของสหประชาชาติจะมีอยู่ 2 ช่องทาง
หลักๆ ด้วยกัน ช่องทางที่หนึ่ง คือ อาศัยช่องทางของสิ่งที่เรียกว่าเป็นกรอบของกฎบัตรสิทธิมนุษยชน
กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งมีกลไกสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นมา เมื่อเร็วๆ นี้ก็คือ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติที่จัดตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2549 หลังจากที่มีการพัฒนามาจากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน
ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติมาถึง 60 ปี เมื่อ ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ก็มีการ
ยกระดับฐานะขึ้นมาเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ซึ่งตรงนี้ก็เป็นกลไกที่สําคัญอีกช่องทางหนึ่งก็คืออาศัยการ
รายงานเข้าสู่ระบบที่ประเทศไทยมีพันธกรณีกับกติกาหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันเรามีอยู่
7 ฉบับด้วยกัน ซึ่งรายละเอียดจะต้องลงไปดูตามแต่ละฉบับตรงนั้น คิดว่าตรงนี้คงจะไม่สามารถลง
รายละเอียดได้นะครับ อยากจะให้ท่านลองดูในเอกสารที่ประกอบ นี่คือกรอบทั่วๆ ไปที่ฟิลิปปินส์ได้หยิบ
ยกขึ้นมา ก็ได้มีการทํากราฟฟิก มีการจัดกระบวนการวิเคราะห์ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ในการพัฒนา
ตัวชี้วัดตรงนี้ ตรงนี้ก็อาจเป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่เราหยิบยกขึ้นมา กรณีของฟิลิปปินส์เขาเริ่มพัฒนาตัวชี้วัดจาก
เรื่องที่เขาเห็นว่าเป็นพื้นฐานที่สุดก็คือเรื่องของสิทธิในอาหาร และสิทธิสุขภาพ ซึ่งเขามองว่าถ้าปราศจาก
สิทธิสองตัวนี้ ประชาชนเขาก็จะไม่สามารถไปเรียกร้องสิทธิตัวอื่นๆ ได้ ซึ่งตรงนี้เป็นกรณีที่มีความสําคัญก็ถือ
ว่าเป็นบทเรียนหนึ่งที่เราได้รับมา อนุสัญญาต่างๆ คงไม่ลงรายละเอียดมาก
กล่าวโดยสรุปจริงๆ แล้วประสบการณ์ของฟิลิปปินส์มีข้อที่น่าสนใจในการพิจารณาเกณฑ์การละเมิด
สิทธิมนุษยชน หรือว่าเกณฑ์ของการที่จะต้องให้การเยียวยาหรือฟื้นฟูเขาใช้รหัสที่เรียกว่า PANTHER for
Redress and Accountability ถ้าใครได้ดูหนังเรื่อง Pink Panther เสือสีชมพูเนี่ยก็คงจะนึกภาพออกนะ
ครับ PANTHER นี่เป็นคําย่อ ฟิลิปปินส์เขาถนัดเรื่องการใช้คําย่อ เรียบเรียงเป็นสูตรเป็นอะไรกันมาก
พอสมควร
P = Participation and Inclusion คือ สร้างกระบวนการในการมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ
ตัวชี้วัดต่างๆ เขาจะมีการพิจารณาว่าการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน และดึงประชาชนภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วม มี
มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ
A = Accountability คือ ความพร้อมรับผิด
N = Non-Discrimination คือ การไม่เลือกปฏิบัติ หรือไม่เลือกกระทําต่อบุคคลหนึ่ง
บุคคลใดที่แตกต่าง
T = Transparency คือ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้
H = Human Rights, Dignity คือ สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
E = Empowerment คือ การเสริมสร้างศักยภาพ
R = Rule of Law คือ กฎระเบียบ ระบบยุติธรรม
PANTHER ทั้ง 7 ตัว เป็นสูตรคร่าวๆ ที่เขานํามาใช้เป็นเครื่องมือหลวมๆ ในการติดตามตรวจสอบ
กิจกรรม หรือโครงการหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเราอาจจะมา
พิจารณากันอย่างละเอียด ถามว่าสรุปบทเรียนนี้เป็นอย่างไร หลังจากที่มีการศึกษากรณีของฟิลิปปินส์ คือ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2