Page 360 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 360
282
คิดว่าเปูาหมายของโครงการจัดทําตัวชี้วัดจะมีความหลากหลาย เมื่อเช้าอาจารย์อมราก็ได้พูดถึงเรื่องของ
การพิจารณานํามาใช้เป็นเครื่องมือของการประเมินว่าทําอะไรได้แค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับกรอบ
เวลาด้วยว่าในการประเมินนะครับ ว่าเราจะให้กรอบเวลายาวนานแค่ไหนในการประเมิน เพื่อให้เห็นความ
เปรียบเทียบ ให้เห็นความแตกต่างว่าสิ่งที่เราทําการตรวจสอบนั้นมันคืบหน้าหรือถดถอยลง แต่ขณะเดียวกัน
ก็ขึ้นอยู่กับการนําไปใช้งานด้วยเช่นกันว่า จะใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดต่างๆ เหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการ
ดําเนินการในหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้อย่างไร
นอกจากนี้ในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร การเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในเครือข่ายที่
เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มีความสําคัญต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่พูดให้ฟังว่าฟิลิปปินส์ใช้เวลา
ประมาณ 10 กว่าปี ในการที่พัฒนาเกณฑ์หรือตัวชี้วัดตรงนี้ขึ้นมา หลังจากที่มีประสบการณ์ชุดหนึ่งซึ่ง
กระทบต่อองค์กรอย่างมากก็ตาม ขณะเดียวกันเขาใช้ประโยชน์จากแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แล้วก็
บูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเขา ในกรณีของไทยเรามีแผน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 1 จัดทําเมื่อ พ.ศ. 2543 – 2544 แต่ว่าไม่ได้นําเอามาใช้เลยเป็น
แผน 5 ปี ในขณะที่ว่าฉบับที่ 2 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2552 – 2556 ก็เป็นแผน 5 ปี เช่นกัน ก็ดูเหมือนว่ายังไม่ได้
นําเอาใช้เลย เมื่อ 2 ปีก่อน นายกฯ อภิสิทธิ์ ก็เปิดแถลงแล้วก็มอบนโยบายให้กับ 20 กระทรวงหลัก แต่ใน
ที่สุดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลก็ไม่มีการดําเนินการคืบหน้าแต่อย่างใด นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
ตอนนี้เข้าใจว่าทางกระทรวงยุติธรรมกําลังจะยกร่างฉบับที่ 3 แล้ว นี่เราก็มีการหารือกับทางกระทรวง
ยุติธรรมมาโดยตลอดว่าถ้ามีการแผนแล้วก็นิ่ง มันก็ไม่ควรจะมี สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สิ่งที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เขาใช้เงื่อนไขตรงนี้ในการที่ไปผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนา
ตัวชี้วัดของเขา เขาก็ทําควบคู่กันไปกับการผลักดันให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปเป็นสารัตถะสําคัญใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของเขาเป็นผลสําเร็จเมื่อสองปีก่อน อันนี้ถือว่าเป็น best practice
ที่น่าสนใจ ในขณะที่ว่าเราเองเรายังค่อนข้างจะไม่ได้ให้ความสําคัญเท่าไหร่นักกับแผนฉบับที่ 11 ที่เพิ่ง
ประกาศใช้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เรายังไม่มีโอกาสไปศึกษาตรงนั้นว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ของเรา มีสารัตถะที่เป็นการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากน้อยแค่ไหนอย่างไร นี่คือกรณีที่เราสามารถ
เรียนรู้ได้จากกรณีฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้เรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นกรอบในการวางแผนการพัฒนา นี่ก็คือ
ประสบการณ์โดยย่อที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ขอบคุณครับ
(เอกสารประกอบการบรรยาย คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์)
ท าไม เลือกสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ?
อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีระดับการพัฒนา และสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง โดยเปรียบเทียบ ใกล้เคียงกับไทย
มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เช่นเดียวกับไทย (แม้จะมีมาแล้วถึง 25 ปี)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้ให้สัตยาบันกติกา อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเกือบทุก
ฉบับ เช่นเดียวกับประเทศไทย
มีความคืบหน้าในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนพอสมควร
สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้ในระดับหนึ่ง
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2