Page 353 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 353

275


                         ขั้นตอนที่สาม คือ การกําหนดตัวชี้วัด 3  ประเภท นั่นคือสิ่งที่นักวิจัยกําลังจัดทําอยู่ในขั้นตอนนี้นะ
                   ครับ

                         ขั้นตอนที่สี่ คือกําหนดที่มาของหลักฐาน หรือสร้างกระบวนการรายงาน (ขั้นตอนที่สี่ไม่ได้ดําเนินการ
                   ในการวิจัยครั้งนี้)  ซึ่งตรงนี้ไม่ได้อยู่ในกรอบของงานวิจัย แต่ว่าเมื่อทําตัวชี้วัดไปแล้วหน่วยงานต่างๆ คง
                   จะต้องส่งรายงานมาให้ กสม. ผมคิดว่านะครับ เนื่องจากว่า กสม. มีหน้าที่ในการรายงาน การตรวจติดตาม
                   ต้องรวบรวมข้อมูลนี้ เพราะฉะนั้นตรงนี้อาจจะต้องมีเจ้าหน้าที่มาออกแบบเรื่องของกระบวนการในการ

                   รายงาน
                         สุดท้าย ตัวชี้วัดจะนําไปสู่การเปลี่ยนมุมมองการจาก “เยียวยาการละเมิด”  เป็น “การปูองกันการ
                   ละเมิด” ปัจจุบันนี้เรามีวิธีการของการติดตามคดีที่มีการละเมิด ผู้ตรวจการฯ ต้องตามไปดูคดีว่ามีการละเมิด

                   อย่างไร มีแนวทางการแก้ไข (corrective approach) ถ้าหากว่ามีตัวชี้วัดและมีการดําเนินการตามตัวชี้วัดก็
                   จะเป็นการปูองกัน (preventive  approach) เพราะว่าถ้าเรามีตัวชี้วัดเป็นกรอบในการดําเนินงานก็จะเป็น
                   การปูองกันการละเมิดได้ส่วนหนึ่ง ตัวชี้วัดจะนําไปสู่การเปลี่ยนจากระบบรายงานโดยที่มีลักษณะเป็น
                   “นามธรรม เชิงคุณภาพ และอัตตาวินิจฉัย”  มาเป็น  “การใช้การรายงานที่เป็นระบบ มีข้อมูลหลักฐาน
                   อ้างอิงที่จัดเก็บโดยเจ้าของข้อมูล และอยู่บนฐานสิทธิ” และนี่คือสิ่งสําคัญมันก็จะมีหลักฐานชัดเจน คือรู้เลย

                   ว่ามีความก้าวหน้าขนาดไหน หรือว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานแห่งสิทธิอย่างไร ซึ่งตรงนี้อาจเกิดขึ้นได้ถึงแม้เรา
                   จะทํา ใช้มาตรการอย่างเต็มที่แล้ว การละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจมีขึ้นได้แม้ว่าเราจะใช้มาตรการอย่างเต็มที่
                   แล้ว การละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจมีขึ้นได้ก็ต้องแก้กันตรงนั้น นั่นก็คือต้องมีกระบวนการในการที่จะแก้ไข

                         และที่สําคัญกระบวนการทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ กสม. ต้องออกแบบ “ระบบการรายงาน”
                   ออกมา ซึ่งต้องมี “ระบบการจัดเก็บ” เพื่อประโยชน์ในการประเมินเป็นขั้นตอนต่อไป/อาจจะต้องมีบุคคล
                   บุคลากรที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่คอยติดตามประเมิน/มีระบบการติดตามเพื่อให้มีการรายงานข้อมูลที่เป็น
                   จริง (fact) และมีประสิทธิผล  (effective) ไม่ใช่ตามไปแล้วแต่ก็ไม่มีการส่งรายงานกลับมา และต้องมีการ

                   “ทบทวน” ตัวชี้วัดอย่างสม่ําเสมอ
                         ตัวชี้วัดมันเป็นการแสดงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนระดับหนึ่ง เมื่อมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม
                   การเมือง ตัวชี้วัดต้องเปลี่ยนไปให้สอดคล้อง และสิทธิมนุษยชนมันเป็น dynamic มันมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ
                   ผมคิดว่าคงจะเป็นกรอบที่สามารถวิจารณ์ได้ ในขั้นต้นนี้ผมขอพูดแค่นี้ เดี๋ยวผมจะมีรายงานวิธีการทําตัวชี้วัด

                   ของคณะผู้ศึกษาในขณะนี้ 2 ท่าน ท่านแรกก็จะเป็นคุณบุญแทน เพื่อเป็นตัวอย่างว่าในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
                   เขาทํากระบวนการการพัฒนาตัวชี้วัด การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเขาทําอย่างไร

                         เอกสารประกอบการบรรยาย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์


                   ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน: ความหมาย
                      •  ข้อมูลจําเพาะเจาะจงที่ได้กําหนดขึ้น เพื่อแสดงสภาวะ หรือสถานะของเปูาหมาย เหตุการณ์ กิจกรรม

                         หรือผลลัพธ์ซึ่งสัมพันธ์กับปทัสถานหรือมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน
                      •  ข้อมูลนั้นได้บ่งถึง หรือได้สะท้อนหลักการของสิทธิมนุษยชน และปัญหาของสิทธิมนุษยชน
                      •  ข้อมูลเหล่านั้นใช้เพื่อประเมิน ติดตามตรวจสอบ การนําหลักการและปทัสถานสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้





                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358