Page 352 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 352

274


                   มาตรการต่างๆ ซึ่งตรงนี้ยากในการกําหนดหาตัวชี้วัดเรื่องนี้ นี้คือสาเหตุหนึ่งที่ผมเชิญท่านผู้ที่ทํางาน
                   เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงมาให้ข้อมูล

                         หน้าที่ประการสุดท้าย คือ พันธกรณีที่ทําให้เป็นจริง (obligation to fulfil) ก็คือดูที่ผลลัพธ์ ดูง่ายๆ
                   อย่างเช่น พันธกรณีในการคุ้มครอง ปีหนึ่งมีคนตายจากอาวุธกี่คน ตายจากโรคภัย ตายจากอุบัติเหตุ อายุขัย
                   เฉลี่ยของประชากร ยาวขึ้นหรือสั้นลง หรือว่าจํานวนนักเรียนที่จบการศึกษาระดับประถม ที่บอกว่ามีการจัด
                   การศึกษาให้ฟรีกับจํานวนที่ออกจากระบบกลางคัน ไม่จบ หรือว่ามีนักรียนอีกกี่เปอร์เซนต์ที่ไม่ได้เข้า

                   โรงเรียน เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจ ตรงนี้มันแสดงว่าเขายังไม่ได้บรรลุถึงสิทธิที่เขามีจริงๆ และนี่คือรัฐยัง
                   ต้องทําอะไรบางอย่าง ยังเป็นเครื่องมือที่จะชี้ให้เห็นว่ามีความบกพร่องหรือมีกลไกบางอย่างที่ไม่สมบรูณ์อยู่
                         เมื่อเราได้พันธะหน้าที่ของรัฐแล้ว นั่นก็คือว่าเรากําหนดตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ก็คือ หลักฐาน พยานเอกสาร

                   หรือว่าอะไรก็ตามที่มันชี้ให้เห็นว่าได้มีการกระทําตามพันธะหน้าที่นั้นๆ ผมใช้วิธีการของสํานักงานข้าหลวง
                   ใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติเป็นกรอบในการดําเนินการ คือ เขาจะแบ่งตัวชี้วัดเป็น 3  ประเภท ที่
                   สะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐ ซึ่งผมว่ามันก็มี logic มีเหตุผล เนื่องจากเราบอกว่ารัฐมีหน้าที่อย่างนี้ๆ นั่นก็คือ
                   ตัวชี้วัดต้องแสดงถึงรัฐได้ fulfil หรือรัฐได้บรรลุถึงการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่อย่างไร นั่นก็คือกําหนดเป็น


                            ตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง (Infrastucture) ก็สะท้อนถึงการเคารพหรือการที่รัฐมีเจตจํานงที่จะเคารพ
                            “สิทธิ” คือการเป็นภาคีข้อตกลงระหว่างประเทศ และการรับรองสิทธิไว้ในระบบกฎหมายของรัฐ

                            ซึ่งตัวชี้วัดพวกนี้หาไม่ยาก และเราก็เป็นประเทศหนึ่งที่เป็นภาคีอนุสัญญาที่สําคัญๆ หลายฉบับ
                            และก็กฎหมายของเรามีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับข้อบทของอนุสัญญาอยู่ตลอดมา
                            ตัวชี้วัดกระบวนการ Process เป็นตัวชี้วัดสะท้อนหน้าที่ในการปกปูองคุ้มครอง โดยรัฐต้องจัดให้มี
                            มาตรการต่างๆ เพื่อปกปูองสิทธิของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย การบริหาร การสร้าง

                            จิตสํานึก ฝึกอบรม อบรมบุคลากร มีงบประมาณที่พอเพียง รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศ
                            ตัวชี้วัดผลลัพธ์ หรือที่เรียกว่า outcome indicators เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง คือดูสุดท้ายเลยว่า

                            เขาบรรลุถึงการมีสิทธินั้นหรือไม่ อย่างที่ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าโรงเรียน แล้วถ้าเกิดว่าเขาต้อง
                            ทํางานเลี้ยงแม่ที่ปุวย เขาอาจไม่ได้มีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่น เพราะฉะนั้นต้องทําอย่างไรเพื่อให้มี
                            สิทธินี้
                         ในขั้นตอนการดําเนินการ ประกอบด้วย

                         ขั้นตอนที่หนึ่ง พิจารณาพันธะหน้าที่ของรัฐ  ก็คือ พิจารณาตามกฎหมายว่ามีฐานทางกฎหมาย
                   อะไรบ้าง มีตัวปฏิญญาสากล กรอบของการวิจัยของคณะผู้ศึกษาก็คือดูอนุสัญญา 2 ฉบับ ก็คือ ICCPR กับ
                   ICESCR  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)  และกติการะหว่าง
                   ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) แล้วก็เราจะดูแหล่งที่มาลําดับรองก็คือตัว

                   General  Comments  คือสิ่งที่เขาอธิบายว่าข้อบทต่างๆ นั้นมีความหมายว่าอย่างไรเหมือนกับการตีความ
                   ตัวกติการะหว่างประเทศนั่นเอง และพวก Guidelines หรือ แนวปฏิบัติที่รับรองโดย UN
                         ขั้นตอนที่สอง จะพิจารณาองค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ หรือ Right  Attributes  หรือว่าตัว
                   องค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ อย่างเช่น สิทธิในการศึกษา อันหนึ่งเลยที่เห็นอย่างชัดเจนคือว่าต้องจัด

                   การศึกษาให้ฟรีกับเด็กทุกคน อันนั้นก็คือเป็นองค์ประกอบ อันที่สองก็คือว่าต้องมีโอกาสในการศึกษาต่อ
                   สูงขึ้นไปอย่างเท่าเทียมเสมอภาค นั่นก็คือตัว Attributes  อย่างหนึ่ง ฉะนั้นตรงนี้เราก็เอามากําหนดเป็น
                   ตัวชี้วัด



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   347   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357