Page 362 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 362
284
มีการจัดทําแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามปฏิญญากรุงเวียนนา และนํามาสู่ความพยายามในการ
ติดตามตรวจสอบ และประเมินบทบาทของรัฐในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงได้จัด
เวทีร่วมภาครัฐและประชาสังคม เพื่อแสวงหาความร่วมมือดังกล่าว (ผล คือ วงแตก !) และมี
ข้อสรุปว่าจะต้องมีการผลักดันให้แผนเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติ มีสาระที่ตอบสนองต่อหลัก
สิทธิมนุษยชน (Human Rights Based Approach in Development) ด้วย จึงจะประสบ
ผลสําเร็จ (ใช้เวลากว่า 20 ปี !)
กสมฟ. ได้จัดตั้งสํานักงานประสานงานนโยบายภาครัฐขึ้น เพื่อเน้นภารกิจในด้านการผลักดัน
นโยบาย และความร่วมมือกับรัฐ ด้วยตระหนักว่าทั้งรัฐ และ กสมฟ. ต่างก็มีบทบาทสําคัญในการ
ขับเคลื่อนนโยบาย
มีการศึกษาวิจัย ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ และได้รับการสนับสนุนจาก UNDP ใน
โครงการ Strengthen Human Rights Infrastructure ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสถาบัน กลไก และ
ตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน โดยเริ่มจากการวิจัยนําร่องในประเด็นสิทธิในด้านอาหาร และสุขภาพ ซึ่ง
เป็นสิทธิพื้นฐานที่สําคัญ อันจะนําไปสู่การคุ้มครอง และส่งแสริมสิทธิมนุษยชน
จากการเชื่อมประสานภาคส่วนต่างๆ รวมถึงการจัดโครงการอบรมความรู้ความเข้าใจให้กับ
เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานรัฐสภา และสํานักงานแผนเศรษฐกิจและการ
พัฒนาสังคม เมื่อผู้เกี่ยวข้องในการจัดทําแผน (ทั้ง จนท. และสมาชิกรัฐสภา และผู้ยกร่าง
แผนพัฒนาฯ เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งในหลักสิทธิมนุษยชน) ทําให้แผนพัฒนาแห่งชาติ ฉบับปี
ค.ศ. 2009-2016 (พ.ศ. 2552-2559) ได้ใช้กรอบสิทธิมนุษยชนเป็นหลักสําคัญ ในแผนยุทธศาสตร์
ของประเทศ ในยุคสมัยของประธานาธิบดี นอยนอย อากีโน (ผู้ลูก)
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2