Page 358 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 358
280
จะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีการขยายอํานาจหน้าที่ของ กสมฟ. ให้สามารถเข้าไปดําเนินการ
คุ้มครอง ตรวจสอบ และติดตามในเรื่องสิทธิเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นประเด็น
ที่มีความสําคัญ
หลังจากนั้นก็มีความพยายามในการที่จะประสานความร่วมมือให้กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและ
เอกชน ภาคประชาสังคม จะเห็นว่าประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนมิได้มีแต่มิติ
ทางด้านสิทธิพลเมืองอย่างเดียว เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ครอบคลุมในเรื่องของวิถีชีวิต ในเรื่องของ
ความเป็นไปของชีวิตประชาชน เสรีภาพของประชาชน และของบ้านเมืองด้วย
ในระยะนั้น ได้มีการจัดทําแผนมนุษยชนแห่งชาติขึ้นมา ซึ่งเป็นข้อเสนอตามมติ ตามบทรับรองของ
ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่กรุงเวียนนา ซึ่งตรงนั้นเป็นจุดที่มีความสําคัญ ซึ่งหลายประเทศได้นําไปปฏิบัติใช้ใน
โอกาสที่มีการครบรอบ 60 ปี 50 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ก็มี
ข้อเสนอจากสํานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชติออกมาว่า ประเทศภาคีสมาชิกควรจะมี
การประยุกต์ใช้และพัฒนาระบบสิทธิมนุษยชนของตน โดยใช้มาตรการหลักที่สําคัญ 4 อัน ด้วยกัน คือ
หนึ่ง ให้ประเทศภาคีสมาชิกยกร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นมา
สอง ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระขึ้นมา
สาม ให้มีการหยิบยกเรื่องของสิทธิในการพัฒนา เนื่องจากกระแสของการพัฒนาในช่วงทศวรรษที่ 90
มีความเปลี่ยนแปลงมโหฬาร เรื่องของระบบเศรษฐกิจ มาเรื่องของโลกาภิวัตน์ เรื่องของสิทธิในการพัฒนาก็
มีความสําคัญต่อชุมชนและการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่กําลังพัฒนาทั้งหลาย
สี่ เรื่องของการส่งเสริมให้มีการกระบวนการเรียนรู้ ให้รู้จักสิทธิมนุษยชนศึกษาขึ้น เพื่อสร้างความ
ตระหนัก และความสํานึกในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชา
สังคม และเป็นประเด็นที่มีความสําคัญ
อย่างไรก็ดี กสมฟ. ก็ได้มีการจัดเวทีสัมมนาขึ้น พัฒนากรอบความร่วมมือ แล้วก็มีการพัฒนาตัวชี้วัด
ขึ้นมาเป็นครั้งแรกๆ ก็มีการเอาภาคเอกชนกับภาควิชาการกับภาครัฐมาประชุมกัน ก็คือไม่ต้องเดานะครับว่า
มาจากบริบทหรือมุมมองที่แตกต่างกัน ผลที่เกิดขึ้นคือวงแตก ในขณะเดียวกันก็มีข้อสรุปร่วมกันว่าจริงๆ
แล้วสิ่งที่ กสมฟ. จะต้องทําต่อไป คือ พยายามจะเชื่อมโยงเรื่องของการตรวจสอบ เรื่องของการส่งเสริมสิทธิ
มนุษยชนต่างๆ เหล่านี้ไม่ให้เป็นลักษณะของการเผชิญหน้า เพราะฉะนั้นสิ่งที่ กสม. ได้มอบหมายให้คณะ
ผู้ศึกษามาศึกษาตรงนี้ก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะเอาไปตรวจสอบ ติดตาม อ้างอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกและระบบสิทธิมนุษยชนภายในประเทศของเราเองนะครับ ไม่ได้ต้องการ
ไปจับผิด ขณะเดียวกันมาร่วมกันสร้างเครื่องมือ เพื่อทําให้สิทธิมนุษยชนภายในประเทศของเรามีความ
คืบหน้า อันนี้คือเจตนาที่ กสม. ดําเนินการอยู่ อย่างไรก็ดีก็มีการพัฒนาแต่พอสมควร
กติการะหว่างประเทศที่พูดถึงก็เป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องมือสําคัญในการที่จะทําการ
ตรวจสอบ อีกทั้งตัวการที่สําคัญอย่างหนึ่งก็คือ กรอบจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถ
ถอดตัวชี้วัดออกมาได้คร่าวๆ 18 ตัวด้วยกัน ในกรณีของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งก็อาจจะถอดออกมา
มากกว่านั้นก็แล้วแต่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเราว่าจะเป็นอย่างไร อันนี้ถือว่าการจัดสัมมนารับฟังความ
คิดเห็นในวันนี้ ก็ถือว่าเรามาครึ่งทางแล้ว เข้าใจว่าเอกสารจะอยู่ในหน้าที่ 7 ของชุดที่ 3 ของเอกสารในมือ
ของท่านจะมีเป็นตารางสี่เหลี่ยม ซึ่งระบุถึงตัวชี้วัดที่มีการพัฒนาขึ้นมาในแต่ละเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น การ
ส่งเสริมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คุณค่าของบุคคล และเรื่องของความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงระหว่าง
สิทธิต่างๆ หลักการไม่เลือกปฏิบัติ เรื่องของความเสมอภาค เรื่องของความพร้อมรับผิด ที่เรียกว่า
accountability เรื่องของหลักประกันในการยอมรับความเป็นสากลในสิทธิมนุษยชน หรือว่าเรื่องของการใช้
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2