Page 351 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 351
273
ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องประเภทของข้อมูล ข้อมูลนั้นอาจเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นตัวเลข สถิติ หรือ
อาจเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ต้องพรรณนาอธิบายหรือความเห็นก็ได้ อย่างเช่น สิทธิการมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจ สิทธิที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง ข้อมูลที่จะชี้ตรงนี้ เช่นเวลาคุณจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ หรือไม่ นี่ก็เป็นข้อมูลเชิงพรรณนา แต่ถ้าเป็น
ข้อมูลเชิงตัวเลข หรือสถิติ เช่น มีบุคคลที่เสียชีวิตในขณะบังคับใช้กฎหมายกี่คน เราอยากจะรู้ เพราะถ้าตาย
เยอะแสดงว่ารัฐอาจจะล้มเหลวบางอย่าง หรือตายขณะอยู่ในเรือนจํา หรือขณะอยู่ในห้องขังของตํารวจกี่คน
ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ก็เกิดขึ้น แต่จะโดยสาเหตุอะไรเราไม่เข้าไปถึงตรงนั้น แต่เราจะดูข้อมูลว่าเป็นข้อมูลเชิงตัวเลข
ซึ่งมันหลอกกันยาก แต่ถ้าหากว่าเป็นการพูดบรรยายอะไรพวกนี้มันอาจจะใช้อารมณ์ ความรู้สึกแล้วก็เขา
เรียกว่าเป็นอัตตาวินิจฉัย
ในการอธิบายข้อมูล บรรยายข้อมูล จํานวนบุคคล หรือว่าสัดส่วนของบุคคลที่ถูกฆ่าตายในคดีอาญา
และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ถือว่ารัฐมีการเยียวยาแก้ไข มันชี้ไปถึงการที่รัฐให้การคุ้มครอง มีคนตายกี่คนใน
คดีอาญา สัดส่วนที่เกิดขึ้น มีพยานปากเอก นักเคลื่อนไหวต่อต้านอํานาจรัฐ หรือต่อต้านกลุ่มอิทธิพล “ถูก
อุ้มหาย” กี่คน ชี้ถึงเรื่องการให้บุคคลนั้นหายตัวไปโดยไม่สมัครใจ หรือว่า enforced disappearance
ข้อมูลเด็กทารกตายระหว่างแรกเกิดถึงอายุหนึ่งเดือน กี่คน ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่าปัจจุบันเขาใช้เกณฑ์
อันไหน เดิมทีเขาใช้ 5 ปี ผมไปดูของบางประเทศเขาใช้ 29 วัน ผมก็ยังสงสัย อันนี้ต้องใช้คนที่อยู่ในวิชาชีพ
นั้น จะบอกว่าควรใช้ข้อมูลไหน มันอาจจะเป็นไปได้ว่าปัจจุบันเขาใช้วิธีการวัดที่เปลี่ยนไปแล้ว เดิมทีเราจะดู
ว่าพันธะหน้าที่ของรัฐก็คือว่าให้สิ่งที่จําเป็นในการดํารงชีวิต (immunity) เด็กจนถึง 5 ปี / มีคนตายจาก
อุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหลกี่คน ถ้าหากมีเยอะก็แสดงว่ารัฐล้มเหลว
จําได้ว่าเมื่อหลายปีก่อน รถแก๊สระเบิดแล้วก็มีไฟไหม้ หรือกรณีไฟไหม้ที่พัทยาที่มีคนตายจํานวนมาก
รัฐมีกฎมีระเบียบชัดเจน แต่ปรากฏว่าประตูหนีไฟถูกล็อค อันนี้แสดงให้เห็นว่าเราไม่คํานึงถึงความปลอดภัย
รัฐจะต้องทําอย่างไร รัฐก็ต้องมีการฝึกอบรม มีการตรวจสอบอะไรต่างๆ หรือไม่ ที่นี่ไม่เคยมีการฝึกอบรม
เรื่องหนีไฟเลย / รถชนคนตายกี่คน บ่งชี้ถึงสภาพอะไร สภาพการบังคับใช้กฎหมาย สภาพของการจราจร
บางทีอาจจะเกิดจากแอลกอฮอล์เมาแล้วขับ ซึ่งเป็นเรื่องประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย เรามีกฎหมาย
แต่ว่าการบังคับใช้อาจมีปัญหา
มาดูพันธะหน้าที่ของรัฐที่จะเป็นฐานในการกําหนดตัวชี้วัด หน้าที่ของรัฐตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนจําแนกเป็น พันธกรณีในการเคารพ (obligation to respect)
พันธกรณีในการปกป้องคุ้มครอง (obligation to protect) และพันธกรณีที่ท าให้เป็นจริง (obligation to
fulfil) ตรงนี้จะสะท้อนออกมาในรูปของการรับรอง พันธกรณีในการเคารพ (obligation to respect) เรา
รับรองว่าบุคคลมีสิทธิอันนั้นมีสิทธินี้ มันจะแสดงออกมาในเรื่องของ commitment คือ การเป็นภาคี
สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน หรือออกมาในรูปของการรับรองสิทธิไว้ในกฎหมายไม่ว่ารัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
รอง นั่นก็คือ การรับรองสิทธิ ซึ่งก็ถือว่ามีกฎหมายรับรองสิทธิอันนั้นมีอยู่ การรับรองไม่ได้หมายความว่ารัฐ
บรรลุภาวะเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้ว ในรายงานฉบับแรกๆ เราจะเขียนในลักษณะอย่างนี้
เสมอ ประเทศไทยมีกฎหมาย มีกฎหมายแต่ไม่ได้มองว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
การมีกฎหมาย มันเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมี เพียงแต่ว่าสะท้อนบางส่วนเพียง
เท่านั้นคือแค่พันธกรณีในการเคารพ
ประการต่อมา พันธกรณีในการปกปูองคุ้มครอง (obligation to protect) เป็นเรื่องที่รัฐต้องใช้
มาตรการต่างๆ ในทางบริหาร ทางตุลาการ กระบวนการบริหาร การเงิน รวมถึงการจัดสรรทรัพยาการ
กล่าวอีกอย่างคือ ทําอย่างไรเพื่อให้บรรลุถึงสิทธินั้นให้เป็นจริงได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มเปี่ยม ตรงนี้ต้องใช้
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2