Page 349 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 349

271


                   3. รายละเอียดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ -   ขอขอบคุณศาสตราจารย์ ดร. อมรา เป็นอย่างมาก ท่านก็กรุณาได้กล่าวเปิด
                   ครั้งที่แล้วท่านนั่งอยู่ให้ความคิดเห็นตลอดจนจบรายการ หวังว่าวันนี้อาจารย์คงจะอยู่แสดงความคิดเห็นได้
                   เช่นกัน เพราะว่าอาจารย์เองเป็นนักวิจัยแล้วก็เป็นคนที่จัดทําตัวชี้วัดเด็กกับตัวชี้วัดผู้หญิงเมื่อประมาณสัก
                   10 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ต้องอาจจะต้องมีการจัดการปรับปรุงแก้ไข และใช้วิธีคิดแบบใหม่ ผมได้ปรึกษาท่าน

                   อยู่ตลอดมา ในช่วงนี้ก่อนที่จะรับฟังความคิดเห็น ผมขอนําเสนอความเป็นมาของโครงการแล้วก็กรอบ
                   วิธีการคิดอันเป็นที่มาของการจัดทําตัวชี้วัด และจะนําเสนอรูปแบบของการจัดทํา การพัฒนาตัวชี้วัด
                   ต่างประเทศว่าเขามีความคิดในการทําตัวชี้วัดอย่างไร

                         เราประชุมไม่เป็นทางการ ผมคิดว่าบรรยากาศของการประชุมถ้าไม่เป็นทางการจะช่วยให้ความคิดใน
                   การประชุมหลั่งไหลออกมาได้มากกว่าการประชุมแบบเป็นทางการ สาเหตุหนึ่งที่จัดในมหาวิทยาลัย คราวที่
                   แล้วไปจัดที่โรงแรมรู้สึกว่ามันอึดอัดนิดหน่อย

                      3.1  น าเสนอ ความเป็นมา และความส าคัญของโครงการ กรอบแนวคิด หลักการ ระเบียบวิธีวิจัย

                   และวิธีการด าเนินการคิด


                     บรรยายน าเรื่อง “ความส าคัญของตัวชี้วัดในการประเมินและติดตามการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ของ
                      รัฐและกระบวนการการจัดท า”

                         โดย ผศ.วิชัย ศรีรัตน์  อาจารย์ประจําสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวหน้าคณะ

                   ผู้ศึกษา

                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ -  ความสําคัญของตัวชี้วัดในการประเมินและติดตามการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่
                   ของรัฐและกระบวนการการจัดทํา จะขอพูดสั้นๆ นะครับ ตัวชี้วัด คืออะไร คือข้อมูลที่กําหนดขึ้นอย่าง

                   จําเพาะเจาะจง เพื่อแสดงสภาวะ หรือสถานะของเปูาหมาย เหตุการณ์ กิจกรรม หรือผลลัพธ์ ซึ่งมี
                   ความสัมพันธ์กับปทัสถานหรือว่า norm  ของสิทธิมนุษยชน หรือมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน หรือ/และ
                   ข้อมูลนั้นได้บ่งถึง  หรือได้สะท้อนถึงหลักการของสิทธิมนุษยชน และสะท้อนถึงปัญหาของสิทธิมนุษยชนใน
                   ประเทศหรือในพื้นที่ ข้อมูลเหล่านั้นจะใช้เพื่อประเมิน หรือติดตามตรวจสอบ การนําหลักการและปทัสถาน

                   สิทธิมนุษยชนมาปรับใช้ มันจะสะท้อนถึงการนํามาปรับใช้ภายในประเทศ  ฉะนั้นอันนี้คือความหมายของ
                   ตัวชี้วัด
                         ประโยชน์ของการจัดทําตัวชี้วัด ก็คือ “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน” เป็นเครื่องมือสอดส่องการดําเนินงาน
                   ของหน่วยงานต่างๆ เดิมทีรัฐจัดทํารายงานมักจะพรรณนา ผมจําได้ตอนที่ผมทํารายงานกติการะหว่าง

                   ประเทศฉบับแรก อัยการเป็นคนรับผิดชอบพูดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พูดมายี่สิบหน้าแล้วยังไม่ทราบเลยว่ามี
                   ปัญหาสําคัญอย่างไร เพราะฉะนั้นแล้ว กสม. แต่ละฉบับจะมีปัญหามากว่าจะทําอย่างไรให้ได้ข้อมูลเพื่อจะให้
                   คําแนะนําเพื่อนําไปปรับใช้ในประเทศได้อย่างมีประโยชน์มากที่สุด เพราะฉะนั้นเขาจึงต้องการข้อมูลที่เป็น
                   เชิงปริมาณ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงสิทธิชัดเจน ฉะนั้นตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนจะต้องเริ่มจากตัวสิทธิ

                   ก่อน การมีตัวชี้วัดก็คือเป็นเครื่องชี้ทาง เป็นปูายบอกทางว่าเราจะไปในทิศทางไหนในการพัฒนา ปัจจุบันก็มี



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353   354