Page 350 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 350

272


                   ตัวชี้วัดที่แสดงถึงการพัฒนาที่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนหรือที่เรียกว่า Human  Rights    Based
                   Approach to Development ก็จะจัดทําขึ้นมาแล้วเป็นแนวที่ประเทศต่างๆ รับมาใช้นะครับ

                         ตัวชี้วัดช่วยให้รัฐภาคีมีกรอบในการจัดทํารายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาด้าน
                   สิทธิมนุษยชนต่อกลไกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดทํารายงานตามกระบวนการการทบทวน
                   สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ  (Universal  Periodic  Review:  UPR) ซึ่งทุกประเทศต้องรายงาน
                   ของเราเพิ่งรายงานเสร็จไป เดี๋ยวคุณบุญแทนอาจจะมีประสบการณ์ อันที่จริงท่านประธานก็ไปเป็นคนเสนอ

                   รายงาน
                         ผมยกตัวอย่างแล้วบอกว่าเรามีสิทธิในชีวิตและอะไรมันจะสะท้อนหรือเชื่อได้ว่ารัฐบาลไทยได้ให้ความ
                   เคารพ ได้ให้ความคุ้มครอง และทําให้สิทธิในชีวิตเป็นจริงขึ้นมา นั้นก็คือเราต้องมาดูเสียก่อนว่า คําว่า สิทธิ

                   ในชีวิตนั่นคืออะไร จากการทบทวนวรรณกรรม จากการที่ศึกษาแนวทางการตีความของ กสม. เพราะฉะนั้น
                   เวลาเราดูพันธกรณีระหว่างประเทศ เราต้องศึกษาจากตัวหลักกฎหมาย ที่สําคัญก็คือเรามีตัวปฏิญญาสากล
                   ซึ่งหลายคนบอกว่าไม่มีพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่ว่าตัวปฏิญญาสากลนี้มันมีสนธิสัญญา backup อยู่ คือ
                   ตัว UN  Charter  หรือที่เรียกว่า กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งกําหนดว่า รัฐทุกรัฐต้องให้การคุ้มครองสิทธิ
                   มนุษยชน และตัวปฏิญญาสากลจะมาอธิบายว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร

                         ฉะนั้นตัวปฏิญญาสากลก็คือตัวอธิบายว่าสิ่งที่รัฐบอกว่าจะเคารพ คุ้มครอง ส่งเสริม ตามกฎบัตร
                   สหประชาชาตินั้นคืออะไร เพราะฉะนั้นมีความสัมพันธ์กัน นั้นเป็นที่มาของสิทธิ นอกจากนั้น เมื่อมีปฏิญญา
                   สากลแล้ว ก็จะมีปฏิญญาอีกสองฉบับออกมาเพื่อเป็นการอธิบาย ก็คือ ICCPR  หรือกติการะหว่างประเทศ

                   ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
                   วัฒนธรรม ค.ศ. 1969  (พ.ศ. 2512) หรือ ICESCR  เป็นตัวที่มีฐานะทางกฎหมาย แค่นั้นยังไม่พอ source
                   หรือ ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่กําหนดพันธะหน้าที่ของรัฐ นอกจากสนธิสัญญาแล้วตัวกฎหมาย
                   จารีตประเพณี (customary law) จะมี หรือว่ากฎหมายทั่วไป ถือว่าเป็น source ที่สร้างพันธกรณีให้รัฐได้

                         เพราะฉะนั้นตัวปฏิญญาสากลถ้าเราพิจารณาดูเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการว่าปฏิญญาสากลเป็น
                   แหล่งที่เกิดของกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นมาได้ในฐานะที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เมื่อเป็น
                   จารีตประเพณีระหว่างประเทศก็มีผลบังคับได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่หลักของคณะผู้ศึกษาก็คือไปศึกษาว่าสิทธิ
                   ในแต่ละอย่างมีสาระแห่งสิทธิอะไรบ้าง เช่น ในแนวขององค์กรระหว่างประเทศ ในเรื่องของสิทธิในชีวิตจะ

                   ประกอบด้วย การไม่พรากชีวิตโดยรัฐ รัฐต้องไม่ฆ่าคนโดยพลการ ไม่ใช้กําลังอย่างเกินความจําเป็นในการ
                   บังคับกฎหมาย ทําลายชีวิตคนอย่างไม่จําเป็น ไม่อุ้มฆ่า ไม่ทําให้คนถูกฆ่าโดยบุคคลอื่น นั่นก็คือหน้าที่ในการ
                   ปูองกันไม่ให้คนนั้นถูกฆ่าตามอําเภอใจ โดยบุคคลที่สามหรือโดยเอกชน เป็นหน้าที่ในการปูองกัน จึงต้องมี
                   ตํารวจ ต้องมีกระบวนการทางกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย นั้นเป็นหน้าที่ของรัฐ ไม่ถูกทําให้หาย

                   สาญสูญโดยการใช้กําลังบังคับ หรือการบังคับคนสูญหาย (enforced  disappearance)  คํานี้ยังใช้กันอยู่
                   ไม่ค่อยตรงกันก็คือ ภาษาง่ายๆ ก็คือ อุ้มฆ่า อุ้มหาย แต่ว่าที่เราใช้ก็คือว่า ลักษณะคือการทําให้คนหายตัวไป
                   โดยที่เขาไม่อยากจะหายตัว ซึ่งมักจะเกิดจากเหตุการณ์อย่างเช่น พยานปากสําคัญ หรือว่าคนที่เข้าไป

                   ต่อต้านรัฐหรือว่าต่อต้านกลุ่มอิทธิพล มักจะถูกอุ้มฆ่า หรือว่ามีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการมีชีวิต
                   สงกรานต์ปีหนึ่งๆ มีคนตายไป 300 คน 700 คน อย่างนี้ รัฐต้องมีหน้าที่ต้องทําอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อให้คน
                   มีชีวิต นอกจากนั้นคงตั้งคําถามว่าแล้วทําไมเราต้องมีการฉีดวัคซีนที่สําคัญให้กับเด็กฟรี ทําไมต้องมีการ
                   รักษาพยาบาลในราคาสามสิบบาท หรือฟรี อันนี้คือหน้าที่ของรัฐ ตรงนี้คือเกณฑ์ที่จะมาวัดว่ารัฐได้มีการ
                   คุ้มครองหรือว่าทําให้เป็นจริงอย่างไร เมื่อเรามีสาระแห่งสิทธิแล้ว เรามีหลักฐานหรือข้อมูลอะไรที่จะชี้ให้เห็น

                   ว่ารัฐได้บรรลุภาระหน้าที่อันนี้ นั่นคือตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   345   346   347   348   349   350   351   352   353   354   355