Page 347 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 347

269




                                                        ภาคผนวกที่ 7

                                   รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง

                   “การจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2”


                                    วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09.00 – 13.30 น.
                                 ณ ห้องประชุม 148 อาคารสัมมนา 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                                 จัดโดย ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์

                           มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)




                   1.  ค ากล่าวต้อนรับของ ผศ.วิชัย ศรีรัตน์  ผู้อ านวยการ ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
                   สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวหน้าคณะผู้ศึกษา
                         สวัสดีครับผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ผม อาจารย์ วิชัย ศรีรัตน์ เป็นอาจารย์ มสธ. และเป็นหัวหน้า

                   คณะผู้ศึกษา ซึ่งในคณะผู้ศึกษาจะมีอยู่สี่ท่านด้วยกัน มีผม มีอาจารย์บุญแทน อาจารย์ณฐกร และอาจารย์
                   จิตตศุภางค์ ผมขอชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาวันนี้ คือ รับฟังความคิดเห็น เอกสารในมือของ
                   ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีหลักการพื้นฐานในการจัดทํา ที่สําคัญก็คือ จะมีตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัด (indicators) แยก
                   ออกเป็น 6 ประเภท ด้วยกัน ซึ่งเราจะได้ดูกัน วัตถุประสงค์ของการจัดรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ เพื่อที่จะ

                   ตรวจสอบ สอบทานว่าตัวชี้วัดที่จัดทําขึ้นนั้นมีความครอบคลุมหรือไม่ และได้สะท้อนถึงหลักฐาน ข้อมูล
                   ต่างๆ ที่หน่วยงานได้จัดเก็บไว้หรือไม่ ถ้าหากว่าไม่มีอยู่ มีความลําบากขนาดไหนหรือไม่ในการที่จะจัดทํา
                   ข้อมูลขึ้นมา เพราะว่าประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องรายงาน และรายงานนั้นจะต้องให้ครอบคลุมตามเนื้อหา
                   สาระของสิทธิมนุษยชน เวลาทางรัฐบาลไทยหรือผู้แทนของประเทศไทยไปรายงายต่อคณะกรรมการ

                   สิทธิมนุษยชนคณะต่างๆ หรือในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจะต้องตอบคําถามประเด็นที่ทางคณะมนตรี
                   สิทธิมนุษยชนได้หยิบยกขึ้นมา ซึ่งจะอาจอยู่ในนั้น การจัดทําตัวชี้วัดจะช่วยให้เราทํารายงานได้ครอบคลุม
                   ตรงประเด็น และเป็นการสะท้อนถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีในการนํามาใช้ในระดับประเทศ และสุดท้ายก็

                   คือจะนําไปสู่การสร้างวัฒนธรรมที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน นั่นคือความเป็นมาคร่าวๆ ผมคิดว่าตอนนี้ได้เวลา
                   พอสมควร เราเชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เป็นหน่วยงานเฉพาะเจาะจงจริงๆ ประมาณ 30 หน่วยงาน ตอนนี้เข้า
                   มาประมาณเกือบสัก 20 ก็ถือว่าน่าจะเพียงพอ คิดว่าคงจะเดินทางกันมาอีก ตอนนี้คิดว่าคงจะได้เวลา ผมขอ
                   เรียนเชิญท่านประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ท่านศาตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ มากล่าว
                   ต้อนรับและกล่าวนําพิธีเปิด วันนี้เราคุยกันอย่างไม่เป็นทางการเท่าไหร่ เรียนเชิญท่านศาสตราจารย์ ดร.

                   อมรา ครับ










                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   342   343   344   345   346   347   348   349   350   351   352