Page 320 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 320

242

                         ในส่วนการบังคับสูญหาย structural  indicators  ก็คือการเป็นภาคี ICCPR  กับอนุสัญญา
                   ปูองกันการบังคับทําให้บุคคลสูญหายโดยใช้กําลัง มีบทบัญญัติลงโทษบุคคลที่ลงมือกระทํา

                   ผู้สนับสนุน และผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนรู้เห็นกับการอุ้มหาย

                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา -  ขออนุญาตท่านอาจารย์ ในหัวข้อถูกบังคับให้สูญหาย มันเป็นเรื่องที่ว่า
                   ในทางปฏิบัติบุคคลที่สูญหายมันอาจจะเป็นสองกรณี คือว่าสูญหายไปโดยเป็นการกระทําของใครก็

                   แล้วแต่ อีกอย่างคือว่าในกรณีที่เขาหายไปโดยเขาจงใจที่จะหาย อย่างเช่นว่าเขามีหมายจับอยู่แล้วเขา
                   ก็หายไป แล้วเขาก็ยังเป็นที่สงสัยยังเป็นเงื่อนงํากันอยู่ว่าเป็นการกระทําของเจ้าพนักงานหรือเปล่า
                   หรือว่าเป็นการหลบหนีของเขาเอง โดยที่ยังไม่เป็นที่ยุติ ตรงนี้ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร


                         อาจารย์วิชัย -  ตรงนี้จะเป็น enforced  disappearance  คือ เป็นการกระทําของเจ้าหน้าที่
                   อย่างเช่นลักพาตัวไป ถ้าหากว่าเป็นความสมัครใจของเขาอย่างเช่นเขาหนีไป หลบลี้หนีภัย เพราะกลัว
                   ถูกฆ่าก็ไม่ใช่ disappearance อันนั้นเป็นการหนีคดีครับ


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา – กรณีที่เราไม่สามารถระบุได้มันยังเป็นเทาๆ อยู่ว่าเขาหนีไปเองหรือว่าเขา
                   ถูกเจ้าหน้าที่อุ้มหาย เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดตรงนี้เราจะกําหนดอย่างไร


                         อาจารย์วิชัย - เราไม่รู้ข้อเท็จจริงใช่ไหมว่าถูกบังคับหรือสมัครใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของข้อมูลที่
                   จะได้มา เป็นเรื่องของข้อมูลที่จะมาตัดสินว่าใช่การอุ้มหายหรือไม่ เรามาดูที่ตรงนี้ก่อนนะครับว่าเรื่อง
                   ของการบังคับให้สูญหายมันเป็นสิทธินะครับ ทีนี้เรามาดูตัวชี้วัด ตัวชี้วัดมันบอก การให้ญาติของบุคคล
                   ผู้ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐติดต่อผู้ถูกควบคุมตัว เพราะฉะนั้นไม่ว่าเขาจะสูญหายไปโดยที่ไม่รู้

                   สาเหตุอะไรก็ตาม แต่ถ้าหากเขาถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ก็คือญาติเขาสามารถติดต่อได้ ถ้าเกิดว่าได้
                   ทําตามนี้มีตามนี้แล้ว เป็นการทําตามกระบวนการมันก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด เพราะฉะนั้นพอจะ
                   ตอบคําถามหรือพอจะแก้ไขปัญหาตรงนั้นได้


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ผมยกตัวอย่างให้ฟังนะครับอย่างเช่นว่ามันมีบางคดีที่ว่าผู้กระทําความผิด
                   ถูกกล่าวโทษแล้วแต่ว่าการสืบสวนยังดําเนินการต่อไป กรณีนี้สงสัยว่าผู้กระทําความผิดอาจจะร่วมกัน
                   กระทําความผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน อย่างเช่นคดียาเสพติด สมมติว่านายแดงถูกจับได้แต่ว่า
                   การขยายผลยังสามารถสืบสวนไปยังเจ้าหน้าที่ต่างๆ ปรากฏว่านายแดงถูกจับได้แล้วและได้รับการ

                   ประกันตัวไป แล้วสองอาทิตย์ก็หายไป อันนี้เราไม่แน่ใจว่าเป็นการตัดตอนหรือเปล่า หรือว่าหนี
                   ประกัน ในพื้นที่สีเทา ตัวชี้วัดถ้าเกิดว่าเราตั้งเกณฑ์ว่าจํานวนคดี ก็จะไม่ได้ตัวชี้วัดที่ถูกต้องมันไม่แน่ใจ
                   ว่าเขาหายไปเองหรือเปล่า หรือเจ้าหน้าที่ตัดตอนเขา


                         อาจารย์วิชัย - ประเด็นนี้ผมจะ question mark ไว้ ต้องไปหาตัวชี้วัดอย่างอื่น มันมีอย่างอื่น
                   หรือเปล่า แต่เรามาดูตัวชี้วัดกระบวนการ การให้ญาติคนที่ถูกควบคุมตัวใช้ได้ใช่ไหมครับ

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) -  มันก็ต้องเยี่ยมได้อยู่แล้ว

                   ไม่ใช่เหรอ มีที่เขาไม่ให้เยี่ยมหรือ

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325