Page 323 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 323
245
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ก็มี อย. อยู่แล้ว อาหารและยา
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - อาหารและยาตรงนั้น
เขาไม่ได้ดูแลให้อาหารและยาแก่คนอดอยาก มันก็มีนะ มีโรงทาน
อาจารย์วิชัย - อ.ย. เป็นเรื่องความปลอดภัยของอาหารและยา เป็นการปูองกันก่อนเกิดเหตุ
เกี่ยวกับสิทธิในสุขภาพด้วยครับ รัฐมีหน้าที่ปกปูองไม่ให้ผู้ผลิต ผลิต หรือวางจําหน่ายสินค้า ยา
อาหารที่เป็นภัย เพราะชาวบ้านเขาไม่รู้ ต่อมาครับ หน้าที่ทําให้เป็นจริง เด็กแรกเกิดจะมีการฉีดวัคซีน
พื้นฐาน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสิทธิในชีวิตที่อยู่ใน ICCPR หรือสิทธิในสุขภาพ ที่อยู่ใน ICESCR
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - อันนี้ถ้าพิจารณาที่
อาจารย์วิทิตพูดเมื่อเช้าที่ให้ดู MDGs ก็ได้ มันก็ง่าย ยังไงเราก็ผ่าน
อาจารย์วิชัย - ทีนี้ตัว outcome ก็อัตราการตายของเด็กอายุต่ํากว่าห้าปี
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - นี่ง่ายไป ต่ําไปอาจไม่
สอดคล้องกับระบบสุขภาพของไทย คือง่ายไปมากเลยมันเป็นตัวชี้วัดสําหรับประเทศที่ด้อยพัฒนา
ของบางประเทศในแอฟริกา อัตราการตายของอายุเด็กอายุต่ํากว่าห้าขวบ ของเราต้องเป็นอะไรที่สูง
กว่านี้
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - อายุยืนกว่าเจ็ดสิบปี ต้องอย่างนั้น
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ก็คืออัตราอายุขัยเฉลี่ย
เพิ่มขึ้น
อาจารย์วิชัย - อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรเป็นตัวชี้วัดที่ผู้จัดทํารายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิ
ในสุขภาพใช้อยู่ด้วยครับ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - สูงขึ้น และ
disaggregated ต้องไปเติม
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - ผมขอยกตัวอย่างกรณีที่มีเด็กที่สมุด
บันทึกสุขภาพของเด็ก ร้อยละของเด็กที่มีสมุดบันทึกสุขภาพ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - น่าเป็นตัวชี้กระบวนการ
อาจารย์วิชัย - ร้อยละของเด็กที่มีสมุดบันทึกสุขภาพ จํานวนโรงพยาบาล
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1