Page 318 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 318

240

                         อาจารย์วิชัย -  สิทธิชุมชนคือ คําเรียกของมันเป็นสิทธิอย่างหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าเราใส่  Legal
                   Normative เรื่องสิทธิในการกําหนดตนเองที่เป็นถ้อยคําในกติกา มันอาจจะคลุมเครือและเป็นถ้อยคํา

                   ทางการเมืองก็ได้ แต่ถ้าเราแยกสาระให้ชัดเจน เช่น มีส่วนร่วมในการกําหนดตัวเองในการปกครอง ใน
                   การกําหนดเลือกผู้แทนชุมชนอะไรพวกนี้เป็นเรื่องของสิทธิทางการเมือง แต่ถ้าหากมีสิทธิเลือกวิถีทาง
                   ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้องก็เป็นเรื่องของสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                   ตรงนี้ถ้ารับไปก็อาจไปแยกต่อเป็นสองอัน ขอบคุณมากครับ  ผมกลับมาที่เมื่อสักครู่ เรื่องของสิทธิใน

                   ชีวิตมันเป็นเรื่องของการที่ถูกพรากชีวิตโดยพลการ เช่น กรณีของอุ้มฆ่า จะเป็นเรื่องบังคับสูญหาย
                   หรือเป็นเรื่องการฆ่าตัดตอน อะไรพวกนี้นะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ตัวชี้วัดโครงสร้างจะมีการเป็นภาคี
                   ICCPR     มีรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิในชีวิต มีกฎหมายอาญากําหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่

                   เจ้าพนักงาน อาจจะต้องมีกฎหมายตรงนั้นนะครับ ส่วนตัวชี้วัดกระบวนการก็ต้องมีการฝึกอบรม
                   เจ้าหน้าที่ตํารวจในการใช้กําลัง outcome  น่าจะต้องดูจํานวนคดีที่ถูกกระทําโดยเจ้าหน้าที่ หรือถูก
                   ฆาตกรรม อาจเป็น หนึ่งจํานวนคดีที่ถูกฆ่า สองจํานวนคดีที่ศาลตัดสิน จํานวนคดีที่ฟูองร้องดีกว่านะ
                   ครับ ฟูองร้องต่อองค์กรกรรมการสิทธิ หรือองค์กรศาลนะครับฟูองร้อง สามก็คือคดีที่ศาลตัดสิน
                   ลงโทษ เพราะว่าในหลายๆ ครั้งมักจะอ้างว่ากระทําโดยกฎหมายหรือว่าชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าหาก

                   ว่าตรงนี้มีจํานวนเยอะก็เท่ากับว่าไม่ได้มีการเคารพ เพราะว่ารัฐมีหน้าที่ต้องอบรม ฝึกฝน ให้กับ
                   เจ้าหน้าที่ต้องใช้กําลังอย่างสมเหตุสมผลนะครับ เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดที่เป็นผลน่าจะเป็นจํานวนคดี ไม่
                   ทราบทางอัยการจะมีอะไรแนะนําไหมครับตรงนี้


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา -  ขออนุญาตท่านอาจารย์ ตรงการไม่ถูกพรากชีวิตโดยพลการ เราต้องแบ่ง
                   ว่ามันเป็นการพรากโดยเอกชนหรือว่าพรากโดยการกระทําของเจ้าหน้าที่พนักงานที่เรียกว่าวิสามัญ
                   เราต้องแบ่งใช่ไหมหรือว่ารวม


                         อาจารย์วิชัย - ขอบคุณมาก ความเข้าใจของผมตอนนี้ ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐถ้ากระทําพราก
                   ถือว่าเป็นการละเมิดโดยทันทีใช่ไหมครับ แต่ถ้าหากว่าเป็นการกระทําของเอกชนเขาต้องมี
                   กระบวนการ เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายยังไม่ถือว่าละเมิดทันที แต่ถ้ารัฐเพิกเฉย รัฐละเมิด


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา –  คล้ายๆ กับว่าตัวชี้วัดมันต้องแตกต่างกัน ถ้าเกิดว่าเป็นกรณีที่เป็นการ
                   พรากชีวิตโดยเอกชนด้วยกันเอง เช่น ชาวบ้านฆ่ากันเอง ตัวชี้วัดต้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเกิดว่าเป็น
                   กรณีที่เป็นวิสามัญโดยเจ้าหน้าที่ตํารวจ ยกตัวอย่างนะครับวิสามัญคิดว่าต้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง  คน

                   ธรรมดาเอาชีวิตกันพวกเจ้าพ่อ พวกอิทธิพลมืด

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) -    ต้องเป็นเจ้าหน้าที่นะ

                   ชาวบ้านฆ่ากันเองไม่น่าจะเข้ามาในนี้

                         อาจารย์วิชัย - คนธรรมดาก็เอาชีวิตกันฆ่ากัน รัฐก็อาจละเมิดได้ ถือว่า ละเลย ผมเข้าใจว่าคง
                   ต้องดูที่หน้าที่ในการปกปูอง คุ้มครอง และทําให้เกิดขึ้นจริง ทางผู้แทนจากอัยการพูดที่บอกว่าจํานวน
                   คดีฟูองร้องต้องเป็นการกระทําที่เจ้าพนักงานกระทํามันถึงจะสะท้อน และอีกกรณีก็คือจํานวน

                   อาชญากรรมต่อชีวิต นั่นคือรวมทุกกรณีเลย

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323