Page 316 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 316

238

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) -  ขอคุยตรงนี้ เรามี
                   สนธิสัญญาที่เป็นภาคีเจ็ดฉบับ  อาจารย์วิชัยทําตอนนี้สองฉบับ ก็เหลืออีกห้าฉบับก็อาจแบ่งไปเลยปี

                   หน้าทําสามเรื่อง ปีต่อไปทําสองเรื่อง นอกจากนั้นอาจจะทําเกินหรือเผื่อเอาไว้ในเรื่องที่ยังไม่ลงนามให้
                   สัตยาบันแต่มีแนวโน้มว่าจะให้สัตยาบันแน่นอน ก็ทํามาด้วย เพราะฉะนั้นปีหน้าเรื่อง ผู้หญิง เด็ก คน
                   พิการ เพราะต้องทํารายงานคนพิการปีต่อไป เรื่องซ้อม ทรมาน คนหาย ชนกลุ่มน้อย


                         อาจารย์วิชัย -  บ่ายโมงครึ่ง พิจารณาตัวชี้วัดที่ทํามาเป็นตัวอย่างบางตัว ICCPR และ ESCR
                   เท่าที่ได้ กรอบเป็น Right Attribute อย่างกว้างๆ ยังไม่ได้ลงไปในตัวชี้วัด สําหรับตารางขวางตัวชี้วัด
                   จะมีข้อมูลบ้างพอสมควร ตกลงทําทั้ง structure  process  outcome  เพื่อจะได้มีการผลัดดันให้มี

                   เปูาหมาย มีจุดหมายยิ่งขึ้น
                         (พักรับประทานอาหารกลางวัน)

                   6. การร่วมแสดงความคิดเห็นโดยผู้เข้าร่วมการสัมมนา
                         ดําเนินรายการโดย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ และคณะผู้ศึกษา

                         (เป็นการแสดงความคิดเห็นพูดคุยกันในกลุ่มเกี่ยวกับตัวอย่างตัวชี้วัดเบื้องต้นที่คณะผู้ศึกษาได้
                   พัฒนาขึ้นโดยใช้เวลาประมาณเก้าสิบนาที)


                      6.3 การร่วมแสดงความคิดเห็นโดยผู้เข้าร่วมการสัมมนา

                         อาจารย์วิชัย –  สาระแห่งสิทธิแรกสุดเลย คือ สิทธิในการกําหนดตนเอง องค์ประกอบสาระ
                   แห่งสิทธิ คือ การมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตตนเองทางด้านการเมือง ตัวชี้วัดด้านโครงสร้าง

                   (structural) การมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญกําหนดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมเป็นระยะ มี
                   รัฐธรรมนูญรับรองการจัดตั้งพรรคการเมือง ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ (process) มีองค์กรการจัดการ
                   เลือกตั้งที่เป็นอิสระ  และมีอิสรภาพขององค์กรเอกชนในการสอดส่องติดตามการเลือกตั้ง ตัวชี้วัดผล
                   (outcome)  ก็คือ มีพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนอย่างแท้จริงของประชาชน  นั่นคือตัวชี้วัดที่เป็นผล

                   ของมัน ในข้อ 3 สิทธิในการมีชีวิต อันนี้ผมเลียนแบบมาจากของ UN ก็คือไม่พรากชีวิตโดยพลการ ก็
                   คือ Arbitrary Deprivation of Life ถ้าเกิดว่าเราเป็นภาคี ICCPR ซึ่งตอนนี้เราเป็นแล้วมันหมายถึงว่า
                   commitment  หรือว่าการรับรองเรามีอยู่แล้ว ตรงนี้น่าจะเป็นกฎหมายอาญากําหนดการฆ่าเป็น
                   ความผิด รัฐธรรมนูญรับรอง


                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) -  เราจะพิจารณากันเลย
                   ถือเป็นการร่วมกันปรึกษาหารือ ฉะนั้นใครมีข้อคิดเห็นอะไรก็เสนอได้เลย


                         อาจารย์วิชัย - ในส่วนนี้ ตัวชี้วัด คือ การมีกฎหมายอาญากําหนดการฆ่าเป็นความผิด

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - แล้วโทษประหารอยู่ตรง
                   นี้ไหม



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321