Page 324 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 324
246
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) – อัตราพวกนั้นไม่ยาก ใส่
เลยก็ได้ อัตราหมอ อัตราคนไข้ อัตราเตียงต่อคนไข้ อัตราพวกนั้นพื้นฐานมาก หรือว่าจะเอา
โรงพยาบาลต่ออําเภอมันก็มีอยู่แล้ว
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ถ้าจะแบ่งอาจจะเป็นจํานวนหมอที่อยู่ในโรงพยาบาล จํานวนแพทย์ใน
โรงพยาบาล
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - อาจต้องแยกในเมือง ใน
ชนบทเขตห่างไกล
อาจารย์วิชัย - นอกจากนั้นสุขภาพน่าจะเป็นเรื่องของ rescues ช่วยชีวิตในกรณีที่ฉุกเฉินให้มี
ชีวิตรอด ผมนึกเวลาพูดถึงหมอ ผมอ่านเรื่องนี้คืออย่างเช่นมีหน่วย rescue อะไรที่ฉุกเฉินทันทีทันใด
ช่วยชีวิตเขาได้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ตกลงในกระบวนการก็
จะมีหน่วยแพทย์พยาบาลฉุกเฉิน
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - ถ้าลักษณะนี้ต้องเป็นลักษณะที่จําแนก
ตามพื้นที่ให้เห็น เพราะว่าถ้าเราบอกว่ามีลักษณะอย่างนี้พอเป็นค่าเฉลี่ยมันจะเห็นว่ามันเห็นว่า
กลายเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าดูในสภาพจริง ในสังคมเมืองจะมีหน่วยลักษณะนี้อยู่ให้มาก แต่พอเป็น
ชนบทจะมีข้อแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นอาจจะต้องคํานึงถึงเรื่องการจําแนกต่อพื้นที่ด้วย
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ให้คณะผู้ศึกษาเติมให้
ด้วยนะคะ พยายามเติมแยกหญิง ชาย แยกพื้นที่ ให้ครบทุกเรื่องเลย
อาจารย์วิชัย - โทษประหารชีวิตเราก็เป็นภาคี ICCPR แต่ว่าเราตีความ ผมว่าควรจะต้อง
เจรจาให้ถอนข้อสงวน
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - เห็นด้วย ประเด็นเรื่องข้อสงวนจะต้อง
แสดงในนี้
อาจารย์วิชัย - ข้อสงวนจริงๆ เราไม่ได้ตั้งข้อสงวนแบบไม่รับข้อบทแต่เราตั้งข้อสงวนแบบ
การตีความ ตีความตามใจเรา
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - อาจารย์ช่วยอธิบายให้
คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่นักกฎหมายเข้าใจด้วย
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1