Page 325 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 325

247

                         อาจารย์วิชัย -     ข้อสงวนการตีความ ข้อ 6  ของ ICCPR  เขาบอกว่าสําหรับประเทศที่ยังไม่
                   ยกเลิกโทษประหารชีวิต โทษประหารจะใช้ได้เฉพาะในกรณีที่อาชญากรรมรุนแรงที่สุดหรือ  Most

                   serious  crimes แล้วรัฐบาลไทยได้ตั้งข้อสงวนคําว่า “รุนแรงที่สุด” ตามข้อนี้ท่านให้เป็นไปตาม
                   กฎหมายไทย ก็เท่ากับว่าเราจะตีความอย่างไรก็ได้ อะไรที่เป็นโทษรุนแรง อาชญากรรมรุนแรงขึ้นกับ
                   กฎหมายไทย ซึ่งแนวของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็คืออาชญากรรมที่รุนแรง
                   ต่อชีวิต อาชญากรรมที่ทําลายชีวิตอะไรพวกนี้ ไม่ว่าจะฆ่า ปล้นฆ่า หรือว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อะไรพวกนี้

                   ถ้าหากว่ารัฐใดรัฐหนึ่งคงไว้ซึ่งโทษประหาร ตกลงยอมรับได้ แต่ของเราความผิดทุจริต ยาเสพติด
                   ความมั่นคง ก็ประหารชีวิต


                         คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - ตีคลุมหมด ใช่  เราตีขยายความมาก

                         อาจารย์วิชัย -   ผมเพิ่งทราบนะว่าเดี๋ยวนี้คอร์รัปชั่นมีโทษประหารชีวิต และยาเสพติดเพียงแค่
                   ยี่สิบกว่าเม็ดก็ประหารชีวิต เพราะว่าเป็นผู้ค้า ถือว่าไม่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของ ICCPR


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา -   คําขยายเรื่องการประหารชีวิตเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปีเราทําความขยาย
                   ตรงนี้ เราแก้ไขกฎหมายแล้ว ตอนนี้จะเอาเข้าเพื่อถอนคําขยาย ถอนคําแถลง ก็คือว่าเราจะไม่ปฏิบัติ
                   ตามข้อนี้แล้ว ประหารชีวิต


                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เห็นอาจารย์วิทิตจะพูด
                   เสมอ


                         อาจารย์วิชัย -   เราจะถอนข้อสงวนการตีความข้อนี้ใช่ไหมครับ อันนี้ขอทราบข้อมูลอัพเดท

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ก็ใส่ไปได้ ดิฉันเห็นด้วย
                   ปัญหาเรื่องโทษประหารนะ ที่แล้วมาเราก็เชื่อเขาแล้วเราก็ไม่ประหารใครจนกระทั่งสองปีที่แล้วก็เกิด

                   ไปประหารคนสองคน จากนั้นก็เกิดการโวยวายขึ้นมา แล้วพอไปสอบถามก็ได้ความว่าอย่างนี้แหละ
                   โทษรุนแรงแล้วถามว่า “โทษรุนแรง คืออะไร” โทษยาเสพติดทั้งหลายเรียกว่าโทษรุนแรงหมด ซึ่งมันก็
                   ยากแล้วเสร็จแล้วพอไปถามนอกรอบนะเขาก็จะบอกว่า เขาตกลงกันไว้ว่าถ้าโทษประหารเป็นโทษ
                   รุนแรงแล้วก็เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะไม่ทําเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษให้ เพราะฉะนั้นยาเสพติดซึ่งอัน

                   นี้มันเป็นเหตุผลที่ลําบากเหมือนกัน  และที่ร้ายก็คือในแผนนี้ก็ไปบอกว่าเราจะเลิกนะ เราจะเลิกโทษ
                   ประหารแล้วเราก็จะทําไม่ได้


                         อาจารย์วิชัย -  แล้วเราใส่ไว้ว่าควรจะใส่ในกระบวนการ พิจารณาโทษประหาร ถ้าเช่นนั้นเรา
                   จะใส่ว่าอะไรดี

                         คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ –  ที่จริงแล้วมันมีพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่า
                   ด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ฉบับที่ 2



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329   330