Page 319 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 319
241
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ยกตัวอย่างนะครับ คือว่าถ้าเป็นกรณีที่เอกชนฆ่ากันเองอย่างนี้กฎหมาย
อาญาเรามี สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้กระทําเราอาจจะต้องมีอย่าง
อื่นอีก อย่างเช่นตอนนี้ก็มีประมวลจริยธรรมองค์กรในแต่ละองค์กร อย่างองค์กรตํารวจ ตัวนี้ก็เป็น
ตัวชี้วัดอย่างหนึ่ง
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ประเด็นจริยธรรม
ทั้งหลายของหน่วยงาน จะเป็นตัวชี้วัดอะไรสักอย่างไหม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - มันมีจริยธรรมขององค์กรตํารวจ องค์กรอะไรที่อยู่ในกระบวนการ
ยุติธรรม ซึ่งอันนี้จัดเป็นตัวชี้วัดได้ใช่ไหมครับ
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - อยู่ใน process
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ตัวชี้วัดกระบวนการ ก็
คือหน่วยงานมีกลไกเรื่องตรวจสอบจริยธรรม
อาจารย์วิชัย - ถูกต้องครับ และอาจรวมกลไกการตรวจสอบการพรากชีวิต
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ถ้าเราเขียนว่าการ
ตรวจสอบการพรากชีวิต ไม่แคบไปหรือ หรือเชิงจริยธรรมเฉยๆ
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ผมเข้าใจว่าองค์กรตํารวจเขามีแน่ เขาน่าจะมีประมวลจริยธรรมแล้ว ผม
เคยเห็นคิดว่าน่าจะมีนะครับ
อาจารย์วิชัย - ขอบคุณมากครับ ผมใส่ไปก่อนนะครับ ประมวลจริยธรรม
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) – จริงๆ ตัว outcome ถ้าอย่างท่าน
อัยการบอก ถ้าจํานวนคดีก็อาจจะต้องแยกว่าเป็นจํานวนคดีที่จําเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกับจํานวน
คดีที่จําเลยเป็นเอกชนมันก็จะได้เห็นว่าสองประเภท ซึ่งตรงกับที่อาจารย์วิทิตบอกว่าถ้าเรามีการ
จําแนกได้ก็จะเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น
อาจารย์วิชัย - ผมขออนุญาตขอย้อนกลับไป ผมเพิ่งเห็นคําข้างล่างไม่ถูกพรากชีวิตโดยพลการ
arbitrary มันหมายถึงเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐตามอําเภอใจ คือ ไม่มีกฎหมายกําหนด ถ้าหากเป็น
เอกชนฆ่ากันมันก็จะเป็นเรื่องของสิทธิในการที่จะได้รับการเยียวยาตามกระบวนการยุติธรรม
เพราะฉะนั้น arbitrary เราใช้ในบริบทของกระทําโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตรงนี้เราใส่เพิ่มอะไรไหมครับ
ถ้าไม่เพิ่มไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวผมจะไปหามาเพิ่มกรณีที่เป็นตัวชี้วัดกระบวนการและ outcome นะครับ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1