Page 315 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 315
237
อย่างเช่น บอกว่าล่ามที่โรงพยาบาลสําหรับพวกเราไม่ต้องการ แต่ว่าคนที่เป็นชาวเขาต้องการ เรื่อง
ผู้หญิงยังมีสิทธิอีกหลายเรื่องที่ยังไม่สามารถทําให้ผู้หญิงกําหนดตัดสินใจในชีวิตได้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - (หลังจากปรึกษา
เจ้าหน้าที่สํานักวิจัยของ กสม. และคณะผู้ศึกษาแล้ว) ตกลงกันแล้วว่ารอบแรกจะท าเรื่อง ICCPR กับ
ESCR แล้วท าแผนต่อไปส าหรับปีหน้า สําหรับอนุสัญญาอีกห้าฉบับว่าจะทําเรื่องอะไร อย่างมากก็สาม
ปี จะได้สบายใจกันว่าเรื่องเด็ก ผู้หญิง คนพิการ ไม่ตก ต้องทําโครงการของปีต่อไป
อาจารย์วิชัย - ฉะนั้นตอนนี้ขอคุยเรื่องกรอบคิดและวิธีการก่อน เอาแค่ไหน
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (กสม.) - โดยภาพรวม รวมหมดอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ายังไม่ลงรายละเอียด
อย่างที่ทางกลุ่มเด็ก กลุ่มผู้หญิงต้องการในรายละเอียดบางเรื่อง เห็นด้วยทําสองตัวหลักตามปฏิญญา
สากลเป็นตัวคลุมไว้ เพราะฉะนั้นจะคลุมภาพรวมเห็นหมด ฝากข้อคิดเวลา UN ทําส่วนใหญ่จะทําใน
ลักษณะ indicators เชิงประนีประนอมที่จะได้เห็นภาพแต่ในลักษณะที่ว่าพอรัฐทํารายงาน รัฐที่มา
รายงานก็จะไม่เสียหน้า ถ้ามีการลงนามในกติกาแล้ว มีกฎหมายแล้ว ตัวมิติ indicators เชิงโครงสร้าง
เกือบทุกประเทศจะผ่านหมด ฉะนั้นพอทําจริงๆ แล้วแม้ list ในรายละเอียดตัว indicators เชิง
โครงสร้าง อาจจะมีแค่ตัวเดียวหรือสองตัว ไม่ว่าในมิติของสิทธิตัวไหนก็ตาม ตัวสุดท้ายแล้วจะเหลือ
สักตัวเดียวหรือสองตัวเหมือนกันหมด ส่วนในมิติของ ตัว process ก็จะมีตัวหลักๆ อยู่สาม สี่ ตัว
พอดูตามสิทธิต่างๆ แล้วก็จะเหลืออยู่สักสาม สี่ตัวเท่านั้น ในเรื่องของ process แล้วพอสุดท้ายตัวที่
จะไปชี้จริงๆ คือ ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ ว่าถ้าเราเขียนตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ ให้เห็นในตัวผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จริงๆ ถึงจะบอกได้ว่าสถานการณ์สิทธิในเรื่องนั้นสภาพจริงๆ มันเป็นอย่างไร ซึ่งพอ list ใน
รายละเอียดออกมาแล้วเดี๋ยวก็จะเห็น คือ ทําสองด้านแล้วจะมาชนกันเอง
อาจารย์วิชัย - สรุปเห็นพ้องกันว่าจะกําหนด scope เรื่องการจะทํา UDHR เป็นกรอบและใช้
ICCPR และ ESCR โดยที่จะมี phase ต่อไปในเรื่องของกลุ่มเฉพาะ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มคนพิการ เด็ก
อาจจะต้องมีการ review มีการทําแล้ว โดยที่ทําสองเรื่อง ICCPR และ ESCR เสร็จแล้วดูตัวชี้วัด list
มากที่สุดเท่าที่ทําได้ แล้วมาดูว่าอันไหนมีอยู่แล้ว skip สิ่งที่ไม่จําเป็นออก เลือกเรื่องที่สําคัญๆ ในทาง
ปฏิบัติในการทํา indicators ก็เป็นเช่นนั้น ทาง กสม. ตกลงที่จะทํา phase สอง
คุณภิรมย์ ศรีประเสริฐ (ส านักวิจัยและวิชาการ กสม.) - เรียนว่าเรื่องนี้เป็นงานวิจัยของ
ปีงบประมาณ 2554 ตอนนี้ทางสํานักงานกําลังเตรียมที่จัดทําแผนวิจัยประจําปีงบประมาณ 2555-
2556-2557 ซึ่งกําลังรวบรวมข้อเสนอหรือการวิจัยที่จะทําปี 2555-2556-2557 เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่ง
ที่จะต้องทําเป็น phase คือ จริงๆ ที่ปรึกษาหารือกับท่านประธานน่าจะทําให้ครบถ้วน แต่ทําในปี
เดียวไม่ทัน จึงต้องมาแบ่งเป็น phase ซึ่งในเมื่อได้รวบรวมหัวข้อวิจัยในปี 2555 แล้ว อาจต้องมีไป
ประชุมเพื่อจะลําดับความสําคัญของเรื่องว่าแผนวิจัยที่จะทําในปี 2555-2556-2557 นั้นมีอะไรบ้าง
ซึ่งอาจจะเรียนเชิญสมาชิกในที่ประชุมนี้เข้าไปให้ข้อคิดเห็นด้วยว่า ถ้าใน phase ต่อไปต้องดู
งบประมาณ โดยอาจจะเลือกขึ้นมาก่อนว่าเอาเรื่องผู้หญิงมาก่อน อาจทบทวนเรื่องเด็ก ให้ครบถ้วน
ตามอนุสัญญาตามที่คุณสันติได้เสนอแนะ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1